กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10133
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่องภาคควบคุมการเบี่ยงเบน วิชาเครื่องรับโทรทัศน์ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Computer-based learning packages via network on the topic of deflection section in the television course for vocational certificate students in technical colleges under the Office of Vocational Education Commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกสร บุญอำไพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิสุทธิ์ สุนทรกนกพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิรดี ประดิษฐสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทัศน์ ผาสุข
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
วิทยาลัยเทคนิค--การศึกษาและการสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง ภาคควบคุมการเบี่ยงเบน วิชาเครื่องรับโทรทัศน์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่เรียนจากชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง ภาคควบคุม การเบี่ยงเบน วิชาเครื่องรับโทรทัศน์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณภาพของ ชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง ภาคควบคุมการเบี่ยงเบน วิชาเครื่องรับโทรทัศน์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนก วิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา จำนวน 42 คนโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ (1) ชุดการ เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรื่อง ภาคควบคุมการเบี่ยงเบน วิชาเครื่องรับโทรทัศน์ สำหรับ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในวิทยาลัยเทคนิคสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 8 หน่วยที่ 9 และ หน่วยที่ 10 (2) แบบทดสอบก่อน เรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 หน่วยที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด คือ 79.05/78.05, 80.38/80.05 และ 80.72/80.38 ตามลำดับ (2) นักเรียนที่เรียนกับชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าทางการ เรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อคุณภาพของ ชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับเหมาะสมมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10133
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม33.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons