กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1013
ชื่อเรื่อง: | การใช้สารสนเทศของนักอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Information use by meteorologists at the Thai Meteorological Department, Ministry of Information and Communication Technology |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทัศนา หาญพล เบญจพร สมชื่น, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์ สมชาย ใบม่วง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ กรมอุตุนิยมวิทยา--ข้อมูล |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้สารสนเทศของนักอุตุนิยมวิทยาด้านการบริหารจัดการ ด้านพยากรณ์อากาศ ด้านพัฒนาอุตุนิยมวิทยา ด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน ด้านตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศและด้านเฝ้าระวังแผ่นดินไหว (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศด้านการบริหารจัดการจำแนกตามภารกิจความรับผิดชอบและประสบการณ์ และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการใช้สารสนเทศ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุนิยมวิทยา จำนวน 122 คน และผู้อำนวยการสำนัก 5 สำนัก จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ซึ่งใช้เก็บรวบรวมข้อมูลการใช้สารสนเทศเฉพาะผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนี้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) นักอุตุนิยมวิทยามีการใช้สารสนเทศด้านการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน (สารสนเทศด้านการรายงานแนวโน้มลักษณะอากาศเพื่อการขนส่งทางอากาศ) ด้านพยากรณ์ อากาศ (สารสนเทศด้านวิเคราะห์และพยากรณ์อากาศ) ด้านเฝ้าระวังแผ่นดินไหว (สารสนเทศต้านเทคนิคการตรวจวัดแผ่นดินไหวสารสนเทศด้านการคำนวณหาตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวสารสนเทศด้านการวิเคราะห์ศูนย์กลางขนาดความแรงแผ่นดินไหว) ด้านตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ (สารสนเทศด้านการค้นควัาและวิจัยในการพัฒนาจัดทำมาตรฐานการเฝ้าระวังและเตือนสภาวะอากาศ สารสนเทศด้านการตรวจวัด รวบรวม จัดทำรายงานข้อมูลรังสีโอโซนและมลภาวะ) (2) นักอุตุนิยมวิทยาที่มีภารกิจความรับผิดชอบและประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีการใช้สารสนเทศด้านบริหารจัดการไม่แตกต่างกันและ (3) ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการใช้สารสนเทศพบว่าช่องทางการสื่อสาร(อินเตอร์เน็ต) มีความเร็วต่ำและขาดการพัฒนาบุคลากรในการนำ สารสนเทศมาใช้ จากการสัมภาษณ์การใช้สารสนเทศด้านบริหารจัดการของผู้บริหาร ผลการวิจัยพบว่าสารสนเทศที่นำมาใช้จะนำมาจากนโยบายของรัฐที่มอบหมายให้ดำเนินการ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1013 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (1).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 67.83 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License