Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1014
Title: บทบาทและอำนาจหน้าที่ของเจ้าท่าหับประมาสะแตม (พ.ศ. 2398-2453)
Other Titles: The roles and authority of The Harbour Master (1855-1910)
Authors: มัลลิกา มัสอูดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยนาถ บุนนาค, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัคเดช กมลรัตนานันท์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
กรมเจ้าท่า--ประวัติ
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาของตำแหน่งเจ้าท่าหับประมาสะแตม (2) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของเจ้าท่าหับประมาสะแตม ระหว่าง พ.ศ. 2398 - 2453 และ (3) ผลของบทบาทและ อำนาจหน้าที่ดังกล่าวต่อระบบราชการไทย โดยใช้วิธีการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์การวิจัยเอกสาร และการ นำเสนอ ในรูปแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) การปฏิวัติอุตสาหกรรม ลัทธิล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก นโยบาย โอนอ่อนผ่อนตามและการปรับประเทศให้ทันสมัย ตลอดจนการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงระหว่างไทยกับอังกฤษ เป็นปัจจัยทำให้เกิด “เจ้าท่าหับประมาสะแตม” ขึ้นในระบบราชการไทยในเวลาต่อมา สนธิสัญญาดังกล่าว ได้ยกเลิกระบบการค้าแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้าลงทำให้พ่อค้าต่างชาติสามารถค้าขายกับราษฎรไทย ได้โดยตรงและข้าวไทยเป็นสินค้าออกสำคัญนำไปสู่การผลิตในปริมาณมากเพื่อการส่งออก ผลที่ตามมาก็คือ เรือสินค้าต่างชาติได้เข้ามาค้าขายในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นในปริมาณหลายร้อยลำขึ้นไปต่อปี รวมทั้ง พัฒนาการของเรือที่เปลี่ยนไปจากเรือสำเภามาเป็นเรือกลไฟ ตลอดจนภัยอันเกิดจากการคุกคามและการตกเป็น เมืองขึ้นของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กับชาติมหาอำนาจตะวันตกทำให้ไทยตระหนัก ถึงภัยคุกคามนี้ จึงทำให้มีแนวคิดในการบัญญัติกฎหมายท้องน้ำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตราย จากการเดินเรือและให้เกิดการยอมรับในความเป็นสากล อันนำไปสู่การสรรหาบุคลากรผู้ชำนาญการทั้งด้านการ เดินเรือ และรอบรู้กฎ ธรรมเนียมการเดินเรือที่เป็นสากลเข้ามารับราชการ (2) หับประมาสะแตม มีบทบาทและ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายท้องน้ำในการอำนวยความสะดวกทำให้เกิดความปลอดภัยแก่เรือที่เข้าออก ราชอาณาจักร และตัดสินชี้ผิด ถูกกรณีมีข้อพิพาทจากเรือชนกัน จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ รวมทั้งได้ วางรากฐานงานเจ้าท่าสมัยใหม่ไว้ (3) ผลของบทบาทและหน้าที่ดังกล่าวส่งผลให้เกิดกรมเจ้าท่าและการพัฒนา กฎหมายการเดินเรือที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นพระราชวิเทโศบายของพระมหากษัตริย์ไทยในช่วงเวลานั้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1014
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (2).pdfเอกสารฉบับเต็ม26.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons