กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10143
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาชุมชนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Community participation in health promotion for elderly people : a case study of communities under the responsibitity of Somdej Phra Yanasungworn Hospital in Wieng Chai District, Chiang Rai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมประสงค์ วิทยเกียรติ ประนอม พานิช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์ คนองยุทธ์ กาญจนกูล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร--การบริการ การส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ--ไทย--เชียงราย การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่ควรจะเป็น (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระหว่าง สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่ควรจะเป็น (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระหว่าง ผู้ให้บริการ แกนนำชุมชน และผู้สูงอายุ และ (4) เสนอแนวทาง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้ให้บริการ 13 คน แกนนำชุมชน 70 คน และผู้สูงอายุ 49 คน รวม 132 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า การสัมภาษณ์ และการสนทนา กลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการเชพเฟ และการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) การมีส่วนร่วมของชุมชนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จพระ ญาณสังวร สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยภาพรวมและแต่ละกลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่ควรจะ เป็นโดยภาพรวมและแต่ละกลุ่มอยู่ในระดับมาก (2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการมี ส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ระหว่างสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่ควรจะเป็น โดยภาพรวมและตามขั้นตอนการมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) การ วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ระหว่างผู้ให้บริการ แกนนำชุมชนและผู้สูงอายุ โดยภาพรวมและตามขั้นตอนการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริม สุขภาพผู้สูงอายุนั้นควรมีการสำรวจ ค้นหาปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุและสะท้อนข้อมูลให้ทุกคนในชุมชน เห็นคุณค่า ความสำคัญของผู้สูงอายุ ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ตามความต้องการของผู้สูงอายุ มีการสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และควรจะมีการ ประเมินผลร่วมกันเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10143 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License