กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10151
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบริการข้อมูลวิจัยด้านข้าวในอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of ASEAN rice research data service model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรอนงค์ นัยวิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
อารีย์ ธัญญกิจจานุกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีรวรรณ ศรีวงษ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ข้าว--วิจัย--บริการสารสนเทศ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการข้อมูลวิจัยด้านข้าวในไทย (2) ศึกษาสภาพการบริการข้อมูลวิจัยด้านข้าวในไทย และ (3) พัฒนารูปแบบการบริการข้อมูลวิจัยด้านข้าวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและอาเซียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ นักวิจัยและผู้บริหารหน่วยงานวิจัยด้านข้าว จำนวน 28 คน และผู้ปฏิบัติงานบริการข้อมูลวิจัยข้าว จำนวน 8 คน วิพากษ์และยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และทดลองรูปแบบกับหน่วยงานวิจัยข้าวและหน่วยงานบริการข้อมูลวิจัยข้าว จำนวน 6 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการข้อมูลวิจัยข้าวในไทยส่วนใหญ่ดำเนินการตามแนวปฏิบัติของนักวิจัยเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ให้ทุนวิจัย การแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลวิจัยในระดับภายนอกหน่วยงาน ยังไม่รองรับการใช้งานร่วมกันระหว่างระบบ และมีกระบวนการจัดการข้อมูลวิจัย ประกอบด้วยการจัดหาและผลิตข้อมูลวิจัยโดยนักวิจัย การจัดหมวดหมู่และจัดเก็บข้อมูลวิจัยตามแฟ้มโครงการวิจัยในแหล่งจัดเก็บ ข้อมูลส่วนตัวของนักวิจัย หรือ ฐานข้อมูลในหน่วยงานโดยไม่มีการวางแผนการจัดการข้อมูลวิจัยเพื่อการสงวนรักษา และมีการเผยแพร่ข้อมูลวิจัยในรูปแบบบรรณานุกรม และบทความในรายงานการประชุมวิชาการของหน่วยงาน 2) สภาพการบริการข้อมูลวิจัยด้านข้าวในไทย หน่วยงานบริการข้อมูลวิจัยส่วนใหญ่ให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบสืบค้นข้อมูลวิจัยด้านการเกษตรและการบริการตอบคำถามผ่านทางโทรศัพท์และสื่อสังคมออนไลน์ ขาดการบริการเพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของการจัดการข้อมูลวิจัย และการอบรมเพื่อสร้างความฉลาดรู้ทางข้อมูล 3) รูปแบบการบริการข้อมูลวิจัยด้านข้าวสำหรับประเทศไทยและอาเซียน ได้แก่ “รูปแบบความร่วมมือการสร้างวัฒนธรรมข้อมูลวิจัยด้านข้าวสำหรับประเทศไทย” ประกอบด้วย กลไกเพื่อความร่วมมือ นโยบายการจัดการข้อมูลวิจัยธรรมาภิบาลและมาตรฐานข้อมูลวิจัย และการบริการเพื่อส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมข้อมูลในหน่วยงานและความฉลาดรู้ทางข้อมูล และ “รูปแบบข้อมูลวิจัยข้าวเพื่อการเข้าถึงและใช้งานร่วมกันสำหรับอาเซียน” ประกอบด้วย ความร่วมมือการสร้างวัฒนธรรมข้อมูลวิจัยด้านข้าวร่วมกับบทบาทหน้าที่ของอาเซียน และข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อการแบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศ ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ามีความเหมาะสม และผลการทดลองรูปแบบด้วยคู่มืออบรมสร้างความฉลาดรู้ทางข้อมูล พบว่าหน่วยงานที่ทดลองใช้รูปแบบมีความพึงพอใจในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศิลปศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10151
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167048.pdfเอกสารฉบับเต็ม35.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons