กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10158
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองลูกจ้างจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures to protect employees from workplace bullying
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วราภรณ์ วนาพิทักษ์
กัลยารัตน์ เทพประสิทธิ์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สราวุธ ปิติยาศักดิ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
การกลั่นแกล้งในที่ทำงาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การคุกคาม--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองลูกจ้างจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงาน (2) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองลูกจ้างจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงานเปรียบเทียบกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ กฎหมายของประเทศออสเตรเลีย ประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศไทย (3) เพื่อวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการถูกกลั่นแกล้งรังแกเปรียบเทียบกับอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ กฎหมายของประเทศออสเตรเถียและประเทศสหราชอาณาจักรและ (4) เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้างจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงานของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กฎหมายของประเทศไทย ประเทศออสเตรเลียและประเทศสหราชอาณาจักร กฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากสื่อเล็กทรอนิกส์อินเทอร์เน็ต ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองถูกจ้างจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงาน ผลการศึกษาพบว่า (1) อนุสัญญาฉบับที่ 190 และข้อแนะฉบับที่ 206 ว่าด้วยความรุนแรงและการล่วงละเมิดให้ความคุ้มครองลูกจ้างจากการคุกคามและการกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงานด้วย (2) กฎหมายของประเทศออสเตรเลีย ประเทศสหราชอาณาจักร แม้จะไม่มีกฎหมายเฉพาะแต่ในส่วนของกฎหมายแรงงานประเทศดังกล่าวมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงาน รวมถึงมีคณะกรรมการที่มีอำนาจออกคำสั่งโดยเฉพาะ (3) จากการวิเคราะห์กฎหมายไทยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 16 ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ครอบคลุมกรณีดังกล่าวเมื่อเทียบกับกฎหมายขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ กฎหมายของประเทศออสเตรเลียและประเทศสหราชอาณาจักรที่มีการกล่าวถึงนิยามหน่วยงานที่รับผิดชอบ บทลงโทษรวมถึงมาตรการเยียวยาความเสียหาย (4) ให้มีแนวทางการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 16 เพื่อให้ครอบคลุมถึงความรุนแรงและการถ่วงละเมิดหรือคุกคาม รวมถึงการกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงานให้สอดคล้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ กฎหมายประเทศออสเตรเลียและประเทศสหราชอาณาจักรที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครอง โดยกำหนดนิยามของการกลั่นแกล้งรังแกในที่ทำงาน จัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง กำหนดฐานความผิดและบทลงโทษรวมถึงมาตรการเยียวยาความเสียหายให้ชัดเจนและครอบคลุม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10158
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
166915.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons