กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10160
ชื่อเรื่อง: การฟ้องคดีอาญาโดยราษฎรเป็นโจทก์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Criminal prosecution with citizen as plaintiff
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
ปิ่นปินัทธ์ ทัพภมาน, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การฟ้องคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักการในการให้อำนาจฟ้องคดีอาญาของราษฎร (2) ศึกษาความเป็นมาของการฟ้องคดีโดยราษฎรเป็นโจทก์ ตลอดจนปัญหาและผลกระทบ อันเกิดจากการใช้อำนาจฟ้องคดี (3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกี่ยวกับการฟ้องคดีของราษฎรตามกฎหมายของไทยและกฎหมายต่างประเทศ (4) เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ราษฎรฟ้องคดีโดยไม่มีข้อจำกัด การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น บทความวารสาร วิทยานิพนธ์ ตำรากฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา และเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการศึกษากฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า (1) การดำเนินคดีอาญาสมัยก่อนจะเป็นในลักษณะ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปเกิดมีแนวคิดว่าการกระทำความผิดบางกรณีไม่ได้เกิดความเสียหายแค่ผู้เสียหายเท่านั้นแต่ยังกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมด้วยจึงเกิดหลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน และหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (2) การดำเนินคดีอาญาต้องพิจารณาตามทฤษฎีเงื่อนไขให้อำนาจดำเนินคดีแบบพิธีก่อนแล้วจึงพิจารณาเงื่อนไขให้อำนาจดำเนินคดีโดยเนื้อหาเป็นลำดับถัดไปหากขาดเงื่อนไขใดไปการฟ้องดำเนินคดีนั้นจะสิ้นสุดลงไปทันที และทฤษฎีผลผูกพันของคำพิพากษา คดีใดเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วถือว่าคดีนั้นเป็นอันยุติลง คู่ความต้องยอมรับและเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของคำพิพากษาของศาล จะรื้อร้องฟ้องใหม่ในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้ แม้แต่ศาลเองจะหยิบยกมาพิจารณาใหม่ไม่ได้เช่นกัน (3) ในต่างประเทศการดำเนินคดีอาญาของราษฎรจะอยู่ในความควบคุมของรัฐ แต่ละประเทศจะไม่ใช้หลักการดำเนินคดีอาญาอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวแต่ รวมถึงประเทศไทยด้วย (4) ประเทศแอฟริกาใต้และประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีใช้หลักดำเนินคดีโดยรัฐแต่ก็ให้สิทธิผู้เสียหายดำเนินคดีได้แต่ไม่เปิดกว้างและจะมีเงื่อนไขต่าง ๆ มาควบคุม ส่วนประเทศอังกฤษปัจจุบันก็มีหน่วยงานมาควบคุมดูแลการดำเนินคดีอาญาของราษฎร แต่ประเทศไทยให้อิสระราษฎรดำเนินคดีโดยไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาของรัฐ (5) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการให้สิทธิฟ้องคดีอาญาโดยราษฎรเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10160
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168809.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons