กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10190
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการออมของบุคลากรในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Saving behavior of personnel in Anti-Money Laundering Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิภาพร ชัยศิริ, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน--ข้าราชการและพนักงาน--การเงินส่วนบุคคล
การออมกับการลงทุน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการออมของบุคลากรในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยดึงดูด ปัจจัยผลักดัน และปัจจัยสนับสนุนกับพฤติกรรมการออมของบุคลากรในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน 618 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน ได้จำนวน 243 คน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) พฤติกรรมการออมของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการออมโดยมีวัตถุประสงค์ในการออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน มีรูปแบบการออมแบบเงินฝากธนาคารโดยไม่ได้กำหนดวงเงินการออมที่แน่นอน จำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท มีวิธีการออมแบบไม่ได้กำหนดงวดการออม และมีแนวโน้มการออมเพิ่มขึ้น 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการกำหนดวงเงินการออมจำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน และวิธีการออม สถานภาพการสมรส มีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน จำนวนบุตร มีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน และวิธีการออมส่วนรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการกำหนดวงเงินการออม จำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน วิธีการออม และแนวโน้มการออม ปัจจัยดึงดูดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมด้านวิธีการออม และปัจจัยสนับสนุนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมด้านการกำหนดวงเงินการออม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10190
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
162196.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons