Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10196
Title: | การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการเมืองการปกครองไทย : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Application of the Buddhist "Conditions of Welfare" in Thai government : a case study of the Chae Chang Sub-district Administrative Organization, San Kamphaeng District, Chiang Mai Province |
Authors: | ธโสธร ตู้ทองคำ ไพฑูรย์ นูมหันต์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การปกครองท้องถิ่น--ไทย--เชียงใหม่ การปกครองท้องถิ่น--แง่ศาสนา การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการเมืองการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เอกสารและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 18 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง และตัวแทนภาคประชาชน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง คือ หลักที่ 1 การประชุมอย่างเนืองนิตย์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้างมาประชุมอย่างแข็งขันทุกครั้ง หลักที่ 2 ประชุม ทำกิจกรรม และเลิกประชุมอย่างพร้อมเพรียงกันซึ่งผู้บริหาร พนักงานไม่เคยขาดประชุม และเข้าร่วมประชุมตรงเวลา หลักที่ 3 ให้ความเคารพปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีที่ดีของรัฐที่เคยปฏิบัติมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อบัญญัติขององค์กร ยึดถือหลักปฏิบัติที่ทำสืบต่อกันมา หลักที่ 4 เคารพนับถือผู้ใหญ่ เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ให้เกียรติเคารพนับถือผู้ใหญ่และผู้นำ หลักที่ 5 ให้เกียรติสุภาพสตรี ไม่ข่มเหงน้ำใจ คุ้มครองป้องกันกุลสตรี ทุกตำแหน่ง หลักที่ 6 เคารพสิ่งที่ประชาชนนับถือและไม่เลิกพิธีกรรมอันชอบธรรมเป็นประเพณีดั้งเดิม ผู้นำให้เคารพนับถือในสิ่งที่ประชาชนเคารพสักการะบูชา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงใหม่ นับถือ หลักที่ 7 ให้การคุ้มครองผู้ประพฤติธรรมเข้ามาสู่แว่นแคว้นเมื่อเข้ามาแล้วก็ให้ความอนุเคราะห์ องค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้างจัดให้มีการอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระสงฆ์ผู้ทรงธรรมวินัยอย่างดียิ่ง (2) ปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้หลักอปริหา นิยธรรมเกิดจากประชาชนไม่สนใจการเมือง ทัศนคติแบบรวมอำนาจและระบบอุปถัมภ์ รวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้างไม่ได้กำหนดนโยบายการบริหารโดยการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม (3) แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรม ควรมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพนักงาน ให้มีจิตอาสาและจิตสำนึกในการให้บริการประชาชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10196 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
135881.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License