Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10201
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง
Other Titles: Factors affecting organizational commitment of teachers and educational personnel in colleges under the office of vocational education commission in the Three Lower Southern Provinces
Authors: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุดม ใจบันทัด, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความผูกพันต่อองค์การ--ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากรทางการศึกษา (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากรทางการศึกษา (3) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใน3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 258 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบนัยสำคัญน้อยที่สุดและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคุณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือปัจจัยด้านความภาคภูมิใจในองค์การ ด้านนโยบายและการบริหารงาน และด้านลักษณะองค์การ โดยร่วมกันทำนายการมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 66 (3) ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีสถานภาพสมรส ตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบัน แตกต่างกันมีความความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10201
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_130786.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons