กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10202
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยศึกษาเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparative study of rights and liberties of Thai people on the Constitution of the Kingdom of Thailand 1997 and the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ พิมพินันท์ แสงอุทัย, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี สิทธิมนุษยชน--ไทย รัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ--ไทย การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มูลเหตุแห่งการบัญญัติหมวดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2) เปรียบเทียบความเป็นอิสระในการเป็นผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยภายใต้รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2560 3) เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ภายใต้รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2560 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล จากหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งศึกษาเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ผลการวิจัยพบว่า 1) มูลเหตุแห่งการบัญญัติหมวดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทยเริ่มก่อตัวตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แม้จะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงเด่นชัดแต่ประชาชนเริ่มมีสิทธิและเสรีภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 ในการจัดทำรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ จึงมีเนื้อหาที่ประกอบไปด้วยการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเสมอมา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการรองรับสถานะของความเป็นมนุษย์ และหลักการสำคัยของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 2) รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับยังคงบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพไว้มากมายแต่รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติ 4 มาตรา (มาตร 25-28) ที่ถือว่าเป็นการเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้กับประชาชนชาวไทย และบัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพ 3) จากการเปรียบเทียบบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติที่กำหนดให้สิทธิและเสรีภาพต้องผูกพันกับทั้ง 3 ฝ่าย แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้อาจไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้จริง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10202 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161027.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License