กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10214
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวตามกระบวนการทำค่านิยมให้กระจ่างเพื่อพัฒนาการประหยัดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอรุณวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a guidance activity package based on value clarification process to enhance the saving habits of Mathayom Suksa V students of Arunvithaya School in Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประดินันท์ อุปรมัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมร ทองดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา กฤษเจริญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การประหยัดและการออม--การศึกษาและการสอน
กิจกรรมของนักเรียน
การแนะแนว--เครื่องมือ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวตามกระบวนการทำค่านิยม ให้กระจ่าง เพื่อเพิ่มพฤติกรรมการประหยัดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอรุณวิทยา จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และศึกษาผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่พัฒนาขึ้น โดยเปรียบเทียบคะแนน การประหยัดของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเพิ่มพฤติกรรมการ ประหยัดของนักเรียน กลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอรุณวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปีการศึกษา 2550 ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างเจาะจง จากประชากรในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 และเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 20 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง ในครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบประเมินการประหยัด ที่ผู้วิจัยได้ปรับและดัดแปลงขึ้น เพื่อใช้ในการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามกระบวนการทำค่านิยมให้ กระจ่าง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยประกอบด้วย คู่มือให้บริการ และกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ได้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกระบวนการทำค่านิยม ให้กระจ่าง มีประสิทธิภาพ มีความตรงตามโครงสร้างและตรงตามเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ของชุดเท่ากับ 0.86 ซึ่งประกอบด้วยคู่มือผู้ให้บริการ และแผนการจัดกิจกรรม 10 กิจกรรม และ (2) ผล การทดลอง โดยนำชุดกิจกรรมแนะแนวตามกระบวนการทำค่านิยมให้กระจ่างไปใช้กับนักเรียนกลุ่ม ทดลอง พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการประหยัดเพิ่มขึ้นภายหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10214
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons