กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10220
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในงานของพนักงานสอบสวนสังกัดสถานีตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Job satisfaction of inquiry officials at Local Police Stations, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทศนาท อาศนะ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจในการทำงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานสอบสวน--การทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี (2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในงานของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามพื้นที่และปัจจัยส่วนบุคคลและ (3) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างความพึงพอใจในงานของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประชากรทั้งหมดซึ่งได้แก่พนักงานสอบสวนทุกระดับที่สังกัดสถานีตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี 36 สถานี จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความพึงพอใจในงานของพนักงานสอบสวนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านค่าตอบแทน (2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของพนักงานสอบสวนแยกตามพื้นที่พบว่า ผู้ที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบ 6-10 ตำบลมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในงานสูงกว่าพนักงานสอบสวนที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบ 1-5 ตำบล และมากกว่า 10 ตำบลในทุกด้าน เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าพนักงานสอบสวนที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดได้แก่ผู้ที่ มีอายุ 51 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีรายได้ 20,001-30,000 บาท สถานภาพโสด อยู่ในตำแหน่งสอบสวนชำนาญการ และมีประสบการณ์ด้านการสอบสวน 3-5 ปี (3) แนวทางเสริมสร้างความพึงพอใจในงานของพนักงานสอบสวนที่สำคัญได้แก่ ความรวดเร็วเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ การปรับปรุงค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ ควรใช้อัตราเงินเดือนระบบเดียวกับฝ่ายตุลาการการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษอย่างยุติธรรม สนับสนุนการอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง ส่งเสริมโครงการพนักงานสอบสวนดีเด่น จัดอัตรากำลังให้เหมาะสมกับงานและเขตพื้นที่รับผิดชอบ จัดให้มีการพักเวรสัปดาห์ละ 3 วัน ให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้นำในการปฏิบัติงาน พร้อมช่วยเหลือร่วมรับผิดชอบ ให้อิสระ รวมทั้งใช้เหตุผลและความยุติธรรมในการปกครองบังคับบัญชา และหากต้องการพัฒนางานให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพึงพอใจ ควรคำนึงถึงกลุ่มอายุ และสถานภาพเป็นสำคัญ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10220
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_133788.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons