Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10231
Title: การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ดิน ป่าไม้ และแร่ธาตุ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี เขต 1
Other Titles: A development of experience-based instructional packages in the social studies, religion and culture learning area on natural resource : soil, forest and minerals for Prathom Suksa IV pupils in Ratchaburi Education Service Area 1
Authors: วาสนา ทวีกุลทรัพย์
สมลักษณ์ ดวงแก้ว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์
สุมนทิพย์ บุญสมบัติ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สังคมศึกษา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ศาสนา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
วัฒนธรรม--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การสอนด้วยสื่อ--ไทย--ราชบุรี
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน ป่าไม้ และแร่ธาตุ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน ป่าไม้ และแร่ธาตุ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นทางการเรียนของ นักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน ป่าไม้ และแร่ธาตุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดรุณาราชบุรี เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 29 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน ป่าไม้ และแร่ธาตุ จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 13 การสำรวจทรัพยากรดิน หน่วยประสบการณ์ที่ 14 การอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการจัดทำของที่ระลึก จากกระดาษเหลือใช้ และหน่วยประสบการณ์ที่ 15 การจัดนิทรรศการแร่ธาตุ (2) แบบทดสอบก่อน และหลังเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า E,/E, ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วยประสบการณ์ มีประสิทธิภาพ 80.00/81.50, 80.83/82.50 และ 78.00/82.50 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความ คิดเห็นเกี่ยวกับชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10231
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons