กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10235
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาซีเอ็นซี คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิต 1 เรื่อง การเขียนเอ็นซีโปรแกรมสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Computer-based learning packages via network in CNC computer aided design and manufacturing I course on the topic of NC Programming for undergraduate students in Industrial Engineering
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจริญ ชุมมวล, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิรดี ประดิษฐสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมต ยอดคุณ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน--การออกแบบและการสร้าง
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชา ซีเอ็นซี คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิต 1 เรื่องการเขียนเอ็นซีโปรแกรม สำหรับ นักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่าย และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ คือ นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 39 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 10 พื้นฐานการเขียนเอ็นซีโปรแกรม หน่วยที่ 11 การเขียนโปรแกรมสำหรับเครื่องกัด และหน่วยที่ 12 การเขียนโปรแกรมสำหรับเครื่องกลึง (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า E,/E การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วยมี ประสิทธิภาพ E,/E2 ดังนี้ คือ 76.16/75.67, 74.37/73.67 และ 75.42/74.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนด 75/75 (2) นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายมีความก้าวหน้า ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการเรียน ด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย มีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10235
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons