กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10251
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขาดงานของพนักงานศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทแพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting absenteeism : a case study of pakfood public company limited branch 6
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพร บุตรบำรุง, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานบริษัทแพ็คฟู้ด จำกัด--การทำงาน
การขาดงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการขาดงานของพนักงานบริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 6 (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขาดงานของพนักงานบริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 6 (3) เสนอแนะแนวทางในการป้องกันการขาดงานของพนักงานบริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 6 ประชากร ได้แก่ พนักงานรายวันและพนักงานรายเดือนจำนวน 1,300 คน ของบริษัทแพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 6 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 306 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสถิติ Chi-Square ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานบริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 6 มีการขาดงานอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 26.5) ปัจจัยที่ทำให้พนักงานขาดงานมีสาเหตุจากสุขภาพทางกายเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.9) (2) ลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุ เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุงานรายได้ต่อเดือน ประเภทการจ้างงาน และลักษณะทางการบริหาร ด้านความสามารถในการมาทำงานสถานการณ์ในงาน ไม่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการขาดงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ข้อเสนอแนะ แนวทางในการลดการขาดงานของพนักงาน สามารถดำเนินการได้โดยการจัดสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพให้กับพนักงาน ประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสุขภาพให้กับพนักงานเป็นประจำ หรือการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้พนักงานได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานได้ดูแลรักษา สุขภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย ที่สำคัญคือจะช่วยลดการขาดงานจากภาวะการเจ็บป่วยได้ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน สวัสดิการด้านนันทนาการให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานอยากมาทำงานมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10251
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128340.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons