กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10264
ชื่อเรื่อง: บทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลด่านสำโรงจังหวัดสมุทรปราการในการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The roles of members of Tambol Dansamrong Municipality Council, Samutprakarn Province in community democratic development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริวดี ภัทรภูวดล, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบาลตำบลด่านสำโรง--สมาชิก
ประชาธิปไตย--ไทย--สมุทรปราการ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (I) ศึกษาบทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลด่านสำโรงในการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของบทบาทสมาชิกสภาเทศบาลตำบลด่านสำโรงในการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนและ(3)เสนอแนะแนวทางในการแสดงบทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลด่านสำโรงในการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนผลการวิจัยพบว่า(1)บทบาทของสมาชิกสภาเทศบาลตำบลด่านสำโรงแบ่งออกเป็น 2 บทบาท คือ บทบาทในสภาฯ ได้แก่ การอภิปราย เสนอแนะและนำปัญหาของประชาชนเข้าสู่สภาฯเพื่อดำเนินการแก้ไข และบทบาทนอกสภาฯ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมรับฟังและเสนอข้อคิดเห็นในการประชุมสภาฯทุกครั้ง (2) ปัญหาและอุปสรรคของบทบาทในสภาฯ คือไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานรับผิดชอบและถูกปิดกั้นในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการติดตามตรวจสอบและอภิปรายในสภาการนำปัญหาของประชาชนเข้าอภิปรายในสภาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ต้องรอให้ประชาชนเข้ามาร้องขอโดยตรงกับฝ่ายบริหารเท่านั้น เป็นปัญหาที่สำคัญต่อบทบาทของสมาชิกสภาเพราะทำให้ประชาชนไม่แน่ใจว่าสมาชิกสภาจะสามารถเป็นที่พึ่งในฐานะตัวแทนของประชาชนได้จริงหรือเปล่า ปัญหาและอุปสรรคนอกสภาฯ คือ การลงพื้นที่พบปะประชาชนเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่องและไม่สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ทันท่วงทีประชาชนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนและการเมืองท้องถิ่นเท่าที่ควร (3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแสดงบทบาทในสภาฯ สมาชิกสภาฯต้องมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทของตนและมีวิสัยทัศน์ กล้าคิด กล้าทำกล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนอย่างแท้จริงโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแสดงบทบาทนอกสภาต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริงตั้งแต่ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนิน การร่วมรับประโยชน์และร่วมตรวจสอบการดำเนินงานของท้องถิ่นโดยเฉพาะปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10264
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130672.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons