Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10266
Title: การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
Other Titles: Development of e-learning packages for learning centers in mathematics learning area on counting numbers less than one hundred thousand for Prathom Suksa III students in Buriram Educational Service Area 3
Authors: วาสนา ทวีกุลทรัพย์
สารคาม สยามประโคน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ปรีชา เนาว์เย็นผล
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--บุรีรัมย์
การสอนด้วยสื่อ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบ ศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสน สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษา ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การ เรียน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการ สอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านไร่โคกหนองปรือ ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 32 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนศูนย์การเรียน กลุ่ม สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสน จำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 การเปรียบเทียบ จำนวนไม่เกินหนึ่งแสน หน่วยที่ 2 การเรียงลำดับจำนวนไม่เกินหนึ่งแสน และหน่วยที่ 3 โจทย์ปัญหาการ เปรียบเทียบจำนวนและการเรียงลำดับจำนวนไม่เกินหนึ่งแสน (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณภาพของชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอน แบบศูนย์การเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียนที่ผลิตขึ้น ทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ 80.00/81.25 79.06/81.88 และ 78.28/81.25 ตามลำดับเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียนมีความก้าวหน้า ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ(3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อคุณภาพของชุดการ เรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนแบบศูนย์การเรียนอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10266
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons