กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10281
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบประเมินการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพสำหรับศูนย์ดัชมิลล์ ดีไลท์ จังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a performance appraisal system using the balanced scorecards for Nakhon Nayok Dutchmilk Delight Center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพักตร์ พิบูลย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บัณฑิต แท่นพิทักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพร แก้วเรืองฤทธิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
การประเมินผลงาน
ศูนย์ดัชมิลล์ ดีไลท์--การประเมิน.--ไทย--นครนายก
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)พัฒนาระบบประเมินการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ สำหรับศูนย์ดัชมิลล์ ดีไลท์ จังหวัดนครนายก และ 2) ประเมินประสิทธิผลของการใช้ระเบียบวิธี วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบประเมินการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นพนักงานของศูนย์ดัชมิลล์ ดีไลท์ จังหวัดนครนายก ปี พุทธศักราช 2548-2549 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบประเมิน การปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการ วิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบประเมินที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ประกอบด้วย ขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน คือ สำรวจปัญหาและความต้องการ วางแผนพัฒนางานของ ศูนย์ จัดทำเอกสาร หลักฐานสนับสนุนการปฏิบัติงาน พัฒนางานในบทบาทหน้าที่ตามระบบ ประเมิน ประเมินความก้าวหน้าและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และประเมินสรุปผลการดำเนินงานปีละ 2 ครั้ง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน (2) จำแนกมิติการประเมินเป็น 4 มิติ คือ ด้านการเงิน มี 3 วัตถุประสงค์ 10 ตัวชี้วัด ด้านลูกค้า มี 3 วัตถุประสงค์ 9 ตัวชี้วัด ด้านกระบวนการ มี 6 วัตถุประสงค์ 21 ตัวชี้วัด และมิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา มี 3 วัตถุประสงค์ 14 ตัวชี้วัด 2) ผล การประเมินประสิทธิผลของการใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ ประเมินการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ พบว่า (1) ระบบประเมินการปฏิบัติงานที่พัฒนาขึ้น มีความ เหมาะสม มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมีประสิทธิภาพ ในระดับมาก (2) พนักงานมีส่วน ร่วมในการพัฒนางาน เกิดการเรียนรู้ ตระหนักในหน้าที่ และพึงพอใจต่อระบบประเมิน ในระดับ มาก และ (3) พนักงานมีความคิดเห็นว่า ระบบประเมินมีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของ องค์กร ควรใช้ต่อไป โดยควรปรับปรุงให้ทันสมัย อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10281
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons