กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10282
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุมไร้ที่ดินทำกินศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่สวนปาล์มหมดสัมปทาน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Method of political movement of landless group : a case study on expired concessions of palm oil plantations areas in Plypraya District Krabi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล วิทวัชช์ แก้วเสน, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ปาล์มน้ำมัน--ไทย--กระบี่ สัมปทาน ที่ดินเพื่อการเกษตร--ไทย--กระบี่ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการเคลื่อนไหวเรียกร้อง ทางการเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุมไร้ที่ดินทำกินที่เข้ายึดครองพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันที่หมดสัมปทานอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ (2) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาของรัฐในการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมไร้ที่ดินทำกินที่เข้ายึดครองพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันที่หมดสัมปทาน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ ประชากรแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมไร้ที่ดินทำกิน เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม รวมทั้งหมด 14 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการศึกษา พบว่า (1) แนวทางการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุมไร้ที่ดินทำกินที่เข้ายึดครองพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันที่หมดสัมปทาน เพื่อกดดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องพื้นที่ทำกิน มี 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) การดึงมวลชนเพื่อให้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องและสร้างเป้าหมายร่วมกันของกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีอาชีพในการทำสวนปาล์มน้ำมันนั้นแต่ไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของ ตัวเอง ทำให้เกิดความเดือดร้อนและสร้างความไม่พอใจให้กับชาวสวนปาล์มน้ำมัน 2) การยื่นข้อเรียกร้องและการสร้างข้อต่อรองให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการจัดสรรพื้นที่ทำกินให้กับเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินและเดือดร้อนอย่างทันที 3) การเข้ายึดครองพื้นที่สวนปาล์มของบริษัทเอกชนที่หมดสัมปทาน (2) แนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่ 1) การใช้วิธีการเจรจาพูดคุยกันเพื่อยุติปัญหาและหาทางออกของปัญหา 2) การบังคับใช้กฎหมายและประเมินสถานการณ์โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ และกลุ่มผู้ชุมนุม 3) รัฐมีนโยบายและมาตรการในการให้ความช่วยเหลือ คือการนำข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมเข้าไปยังรัฐบาลเพื่อหามาตรการแก้ไขอีกครั้ง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10282 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
153310.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License