กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10288
ชื่อเรื่อง: | กลุ่มการเมืองท้องถิ่นกับการพัฒนาทางการเมืองของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Local politics groups and political development of Phunphin District, Surat Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ วราภรณ์ แซ่ล้อ, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาทางการเมือง--ไทย--สุราษฎร์ธานี การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นกับการพัฒนาทางการเมืองของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของกลุ่ม การเมืองท้องถิ่นกับการพัฒนาทางการเมืองของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการ ส่งเสริมบทบาทของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นกับการพัฒนาทางการเมืองของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีประชากรวิจัย 5 กลุ่มประกอบด้วย 1) กลุ่มข้าราชการประจำองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 2) ข้าราชการทั่วไป 3) ผู้ใหญ่บ้าน 4) ผู้นำชุมชน 5) ประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่มีอำนาจทางการเมืองในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มพัฒนาท่าข้าม 2) กลุ่มท่าข้ามก้าวหน้า 3) กลุ่มสหกรณ์ สุราษฎร์ธานี จ ากัด 4) กลุ่มชาวสวนยางตลาดกลางยางพารา 5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาทางการเมืองในด้าน การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางการเมือง และด้านความสามารถของระบบการเมือง ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบาย ส่งเสริมความเท่าเทียมกัน 2) การส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยกลุ่มพัฒนาท่าข้าม กลุ่มท่าข้ามก้าวหน้า และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น ตรวจสอบการทำงาน หรือ ร้องเรียนได้อย่างเท่าเทียมกัน ด้านความสามารถของระบบการเมือง จะเห็นว่าการที่ประชาชนมีการตรวจสอบการ ทำงานเป็นการผลักดันให้หน่วยงานของรัฐบาลออกนโยบายมาเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มสหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด และกลุ่ม ชาวสวนยางตลาดกลางยางพารา มีบทบาททางการเมืองที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ในด้านความสามารถของ ระบบการเมือง เมื่อสมาชิกขาดผลประโยชน์ ก็จะออกมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลออกนโยบายมาเพื่อตอบสนองความต้องการ เช่น การเรียกร้องให้ยางพารามีราคาสูงขึ้น (2) ปัญหาและอุปสรรคของ กลุ่มพัฒนาท่าข้าม กลุ่มท่าข้ามก้าวหน้า และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ สมาชิกกลุ่มไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนได้ เนื่องจากสมาชิกกลุ่มขาดความใส่ใจในการแก้ปัญหา ขาดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ยังมีระบบอุปถัมภ์เอื้อต่อพรรคพวกของตน ส่วนกลุ่มสหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกด และกลุ่มชาวสวนยางตลาดกลางยางพารายังไม่มีปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาททางการเมืองเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ทำเพื่อสมาชิกกลุ่มของตนเท่านั้น (3) ข้อเสนอแนะ กลุ่มพัฒนาท่าข้าม กลุ่มท่าข้ามก้าวหน้า และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น สร้างความรู้ความเข้าใจ รับฟัง ปัญหาและความต้องการของประชาชน สมาชิกควรมีอุดมการณ์ร่วมกัน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการทำงานและไม่ควรมีระบบอุปถัมภ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10288 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161029.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License