กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10295
ชื่อเรื่อง: | ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชางานเครื่องยนต์เบื้องต้นเรื่องพื้นฐานของเครื่องยนต์สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยการอาชีพบ้านตาก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Computer-based learning packages via network in the introduction to engine course on basic of engine for vocational certificate students in the auto mechanics program of Bantak Industrial and Community Education College |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทิพย์เกสร บุญอำไพ สุพัฒน์ อยู่สุข มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุปรียา คิริพัฒนกุล พิเชษฐ์ พินิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยการอาชีพบ้านตาก--การศึกษาและการสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน เครื่องยนต์--การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชางานเครื่องยนต์เบื้องต้น เรื่องพื้นฐานของเครื่องยนต์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยการอาชีพบ้านตาก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนด้วยชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่าย และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณภาพของชุดการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการ เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชางานเครื่องยนต์เบื้องต้น เรื่องพื้นฐานของเครื่องยนต์ จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 5 ประเภทและโครงสร้างของเครื่องยนต์ หน่วยที่ 6 หลักการทำงานของ เครื่องยนต์ หน่วยที่ 7 ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของการใช้ชุดการเรียน ด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากการทดลองมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหา ประสิทธิภาพของชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ด้วยค่า E,/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายที่สร้างและพัฒนาขึ้น ทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้ 81.33/80.33, 80.67/79.00และ 81.00/79.67 ตามลำดับ (2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายในระดับ เหมาะสมมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10295 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License