กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10303
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลต่อการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relation between organizational effectivenss and organizational effectiveness factors of the National Anti-Corruption Commission (ONACC)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติมา บูชา, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)--การบริหาร
การจัดการสำนักงาน
ประสิทธิผลองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลต่อการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (3) ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การศึกษาค้นคว้าอิสระเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการจัดทำแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชากรซึ่งเป็นข้าราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. เฉพาะที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนกลาง รวมจำนวน 256 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ และทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ระยะเวลาในการทำงานในสำนักงานป.ป.ช. เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ระดับตำแหน่งของการรับราชการประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ พบว่า (1) ปัจจัยต่าง ๆ ในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของสำนักงานป.ป.ช. ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ปัจจัยด้านแผนยุทธศาสตร์ ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล ปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยด้านการควบคุมองค์การ โดยปัจจัยด้านภาวะผู้นำและด้านทรัพยากรบุคคลมีค่าความสัมพันธ์มากที่สุด และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าความสัมพันธ์น้อยที่สุด (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงานกับสำนักงาน ป.ป.ช. สายงาน ระดับตำแหน่งของสายงานวิชาการ ต่างกัน มีความ คิดเห็นต่อปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการบริหารงานของสำนักงาน ป.ป.ช. แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของงสำนักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนางานบุคลากรต้องมีความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ในหน้าที่มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10303
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128644.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons