กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10308
ชื่อเรื่อง: | บทบาทในฐานะหัวคะแนนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Canvasser role of sub-district and village headman : a case study of Sawangarom Didtrict Uthaithani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล สุรเชษฐ์ สุขเกษม, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี หัวคะแนน--ไทย--อุทัยธานี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบ บทบาทและวิธีดำเนินการในฐานะหัวคะแนนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (2) ศึกษาแรงจูงใจที่ทำให้เป็นหัวคะแนน และปัจจัยที่ทำให้การเป็นหัวคะแนนได้ประสบ ผลสำเร็จ (3) เสนอแนวทางป้องกันและลดบทบาทการเป็นหัวคะแนนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ประชากร วิจัยได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งหมดของอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กำนัน จำนวน 5 คน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 60 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 65 คน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) การเข้ามาเป็นหัวคะแนนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มี 2 รูปแบบ คือ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา ติดต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยตรง และ อีกวิธีหนึ่งคือ ติดต่อ ผ่านมายังนักการเมืองในระดับท้องถิ่นและนักการเมืองระดับท้องถิ่น ติดต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อีกทอดหนึ่งซึ่งบทบาทและวิธีดำเนินการในฐานะหัวคะแนน มีขั้นตอนดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การสร้างทีมงานและเครือข่ายในการคุมคะแนนเสียง การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิและประเมินผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประเมินการใช้จ่ายเงินในการซื้อเสียงให้แก่ผู้สมัคร และดำเนินการซื้อเสียงและติดตามผลผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (2) แรงจูงใจที่ทำให้เป็นหัวคะแนน ได้แก่ การเกรงกลัวอำนาจหรืออิทธิพลของผู้สมัคร การมีสายสัมพันธ์ส่วนตัวในระบบอุปถัมภ์ กับผู้สมัคร ต้องการมีอำนาจ บารมี และดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สูงขึ้น และการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้สมัคร โดยปัจจัย ที่ทำให้การเป็นหัวคะแนนประสบผลสำเร็จ ได้แก่ การมีตำแหน่งทางราชการและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การมีเครือญาติจำนวนมากอยู่ในตำบลและหมู่บ้าน การมีฐานะทางการเงินที่ดีและการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ราษฎร (3) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เสนอแนวทางป้องกันและลดบทบาทในการเป็นหัวคะแนนไว้ 3 ประการ ดังนี้ 3.1) ให้เพิ่มค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ให้เทียบเท่ากับข้าราชการ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3.2) ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเพิ่มบทลงโทษทางวินัยและอาญา เพื่อป้องกันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าไปเป็นหัวคะแนน และวางตัวไม่เป็นกลางทางการเมือง 3.3) ข้าราชการในทุกส่วนราชการ ต้องปฏิบัติงานให้เต็มความสามารถในการแก้ไขปัญหาความ เดือดร้อนของประชาชน เพื่อเป็นการลดบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการนำปัญหาความเดือดร้อนไปประสานขอความช่วยเหลือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาโดยตรงโดยไม่ผ่านหน่วยงานภาครัฐ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10308 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
124242.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License