กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10319
ชื่อเรื่อง: | การจัดการทรัพยากรน้ำภาครัฐที่เป็นปัญหาและเกิดผลกระทบต่อระบบเหมืองฝายของภาคประชาสังคม : กรณีศึกษาชุมชนลุ่มน้ำขานจังหวัดเชียงใหม่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems with the government's management of water resources that impacts civil society's check dam system : a case study of the Khan River Basin, Chiang Mai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธโสธร ตู้ทองคำ สุขเกษม อินทสิทธิ์, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี น้ำ--การจัดการ ทรัพยากรทางน้ำ--การจัดการ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุ ความเป็นมา และปัจจัยที่นำไปสู่การจัดการทรัพยากรน้ำภาครัฐที่เป็นปัญหาและเกิดผล กระทบต่อระบบเหมืองฝายของภาคประชาสังคมชุมชนลุ่มน้ำขาน จังหวัดเชียงใหม่ (2) ปัญหาและผลกระทบต่อระบบเหมืองฝายของภาคประชาสังคมชุมชนลุ่มน้ำขาน จังหวัดเชียงใหม่และ(3) ผลกระทบการจัดการทรัพยากรน้ำภาครัฐที่เป็นปัญหาและเกิดผลกระทบต่อระบบเหมืองฝายของภาคประชาสังคมชุมชนลุ่มน้ำขาน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาขอมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวของกับการจัดการทรัพยากรน้ำภาครัฐของชุมชนลุ่มน้ำขาน จำนวน 11 คน และผู้ที่มีผลกระทบต่อระบบ เหมืองฝายของชุมชนลุ่มน้ำขานจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) การที่รัฐเข้ามาจัดการทรัพยากรน้ำบริเวณลุ่มน้ำขาน ทำให้เกิดความขัดแย้งกับชุมชน เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายวิถีชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว ยังส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรน้ำไม่ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน นำมาซึ่งความขัดแย้ง(2) การจัดการทรัพยากรน้ำโดยภาครัฐเน้นการจัดการตามกฎระเบียบของทางราชการซึ่งส่งผลให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะขัดต่อการจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายของชุมชนแล้วยังขาดการมีส่วนร่วมของชาวบ้านจนก่อให้เกิดข้อพิพาทตามมาแล้ว (3) ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ การจัดการน้ำภาครัฐขาดประสิทธิภาพ วิถีชีวิตของชุมชน ถูกทำลาย เกิดข้อพิพาทระหว่างหมู่บ้านในการแบ่งปันน้ำ และการรวมตัวของชาวบ้านเป็นกลุ่มประชาสังคมเพื่อต่อสู้กับภาครัฐ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10319 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
128858.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License