Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10328
Title: บทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The political role of the democratic party branch in Chiang Mai Province
Authors: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพล แก้วฝั้น, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
พรรคประชาธิปัตย์
พรรคการเมือง--ไทย--เชียงใหม่
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ใน จังหวัดเชียงใหม่ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการแสดงบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัด เชียงใหม่ (3) แนวทางในการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า (1) สาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาททางการเมือง ในด้าน การให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน และการรณรงค์การเลือกตั้ง ด้านการให้ความร่วมมือกับชุมชนในการร่วม กิจกรรมต่าง ๆ ด้านการรับฟังปัญหา เรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ ของประชาชนและประสานความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กร หน่วยงานกับประชาชน ด้านการพิจารณาคัดเลือกผู้รับสมัครรับเลือกตั้ง ด้านการประสานความร่วมมือเพื่อ ส่งเสริมชุมชนและสังคม ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อมและ ด้านการแสวงหาสมาชิกพรรคเพื่อสร้าง รากฐานที่มั่นคง (2) การแสดงบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ พบปัญหา และอุปสรรคในด้านของปัจจัยภายใน คือ ขาดงบประมาณในการสนับสนุน ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจใน บทบาทหน้าที่ ขาดการวางแผนงานตามยุทธศาสตร์ การดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายและไม่มีความเป็นอิสระ ขาดการมีส่วนร่วมของสมาชิกสาขาพรรค และขาดการเอาใจใส่จากพรรค และปัญหาและอุปสรรคของปัจจัย ภายนอก คือ พรรคการเมืองคู่แข่งมีการใช้แนวนโยบายประชานิยม สาขาพรรคไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคลใน พื้นที่ และสถานการณ์ทางการเมืองยังคงมีความขัดแย้งทางความคิด (3) แนวทางในการพัฒนาบทบาททางการเมือง ของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ในด้านของปัจจัยภายใน คือ ควรมีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ของบุคลากรเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย การส่งเสริมบุคลิกภาพ ควรการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหรือตามภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลัง ควรบริหารจัดการด้านทรัพยากรอย่างความเหมาะสม ควรมีการจัดสรร งบประมาณ การจัดทำแผนนโยบายอย่างชัดเจน ควรมีการประสานความร่วมมือกับในชุมชน สังคม และ แนวทางใน การพัฒนาปัจจัยภายนอก คือ ประชาชนควรมีการยอมรับกติกากฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ด้วยจิตสำนึกของ คุณธรรมจริยธรรม ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ๆ และควรมีการสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ร่วมกับ องค์กร หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ประชาชนในชุมชนและสังคมให้มีการดำเนินตามวิถีความพอเพียง เพื่อลดความขัดแย้งทางความคิดลง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10328
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
145082.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons