กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10328
ชื่อเรื่อง: | บทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political role of the democratic party branch in Chiang Mai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสนีย์ คำสุข สุรพล แก้วฝั้น, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี พรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมือง--ไทย--เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการแสดงบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ (3) แนวทางในการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเจาะจง คือ ประธานสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่รับผิดชอบสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 3 คน และประชาชนที่เป็นผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตุการณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาททางการเมือง ในด้านการให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน และการรณรงค์การเลือกตั้ง ด้านการให้ความร่วมมือกับชุมชนในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการรับฟังปัญหา เรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ ของประชาชนและประสานความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร หน่วยงานกับประชาชน ด้านการพิจารณาคัดเลือกผู้รับสมัครรับเลือกตั้ง ด้านการประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมชุมชนและสังคม ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อมและ ด้านการแสวงหาสมาชิกพรรคเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคง (2) การแสดงบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ พบปัญหาและอุปสรรคในด้านของปัจจัยภายใน คือ ขาดงบประมาณในการสนับสนุน ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจใน บทบาทหน้าที่ ขาดการวางแผนงานตามยุทธศาสตร์ การดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายและไม่มีความเป็นอิสระขาดการมีส่วนร่วมของสมาชิกสาขาพรรค และขาดการเอาใจใส่จากพรรค และปัญหาและอุปสรรคของปัจจัยภายนอก คือ พรรคการเมืองคู่แข่งมีการใช้แนวนโยบายประชานิยม สาขาพรรคไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคลใน พื้นที่ และสถานการณ์ทางการเมืองยังคงมีความขัดแย้งทางความคิด (3) แนวทางในการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ในด้านของปัจจัยภายใน คือ ควรมีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย การส่งเสริมบุคลิกภาพ ควรการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหรือตามภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลัง ควรบริหารจัดการด้านทรัพยากรอย่างความเหมาะสม ควรมีการจัดสรรงบประมาณ การจัดทำแผนนโยบายอย่างชัดเจน ควรมีการประสานความร่วมมือกับในชุมชน สังคม และ แนวทางในการพัฒนาปัจจัยภายนอก คือ ประชาชนควรมีการยอมรับกติกากฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ด้วยจิตสำนึกของคุณธรรมจริยธรรม ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ๆ และควรมีการสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ร่วมกับ องค์กร หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนประชาชนในชุมชนและสังคมให้มีการดำเนินตามวิถีความพอเพียง เพื่อลดความขัดแย้งทางความคิดลง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10328 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
145082.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License