กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10330
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทางการเมืองที่นำไปสู่ความสำเร็จในภารกิจการเตือนภัยล่วงหน้าของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 ในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political factors that led to success in the natural disaster early warning system of the Division 10 Office of Water Resources in Kanchanadit District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธโสธร ตู้ทองคำ
สุวรรณี ดาราไก่, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเตือนภัย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางการเมืองด้านบทบาทของผู้นำชุมชนท้องถิ่นและ (2) ปัจจัยทางการเมืองด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่นำไปสู่ความสำเร็จในภารกิจการเตือนภัยของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 ในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยจากเอกสาร การสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ เชิงลึกประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) นักการเมืองท้องถิ่น (2) ข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านการเตือนภัยของสํานักงานทรัพยากรนํ้าภาค 10 (3) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นําชุมชนท้องถิ่น (4) ประชาชนในพื้นที่อําเภอกาญจนดิษฐ์ (5) นักวิชาการ สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น จํานวน 2 คน กลุ่มข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านการเตือนภัยของสํานักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 จํานวน 3 คน กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นําชุมชนท้องถิ่น จํานวน 2 คน กลุ่มประชาชนในพื้นที่อําเภอกาญจนดิษฐ์ จํานวน 4 คน กลุ่มนักวิชาการ สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่องค์กร พัฒนาเอกชน จํานวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แล้วนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางการเมืองด้านบทบาทของผู้นำชุมชนท้องถิ่นมีส่วนสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในภารกิจการเตือนภัยล่วงหน้าในทุกลำดับขั้นตอนของการทำงานด้านการเตือนภัยในพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ การประสานงาน ติดต่อ เชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมการเตือนภัย การดำรงตำแหน่งในกลุ่มกิจกรรม การกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติ แนวทางการแก้ไขปัญหา การขจัดข้อขัดแย้งระหว่างผู้นำชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่เดียวกันการรวมกลุ่มของประชาชน การให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะและการเป็นตัวแทนประชาชนในการนำเสนอข้อเท็จจริงต่อสาธารณะ (2) ปัจจัยทางการเมืองด้านการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในพื้นที่ที่นำไปสู่ความสำเร็จในภารกิจการเตือนภัยล่วงหน้า พบว่า ประชาชนเห็นคุณค่าและ ประโยชน์ของสถานีเตือนภัยในพื้นที่ จึงให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานติดตั้งสถานีเตือน ภัยเป็นอย่างดี โดยเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อันได้แก่ การร่วมประชุมในกิจกรรมด้านการเตือนภัยการปฏิบัติตามข้อเงื่อนไขแห่งกิจกรรมการร่วมทำประชาพิจารณ์กิจกรรมการเตือนภัยและการจัดตั้งเครือข่ายการเตือนภัย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10330
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148784.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons