กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10332
ชื่อเรื่อง: กระบวนการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่เข้มแข็งในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังโบสถ์ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Process of building a strong democratic society in the area of Wang Bost Tambol Administrative Organization, Nong Phai District, Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธพร อิสรชัย
สมบูรณ์ สุดทองมั่น, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
ประชาธิปไตย--ไทย--เพชรบูรณ์
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ขั้นตอนและวิธีการในการสร้างสังคม ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง (2)ปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อกระบวนการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง (3)ข้อเสนอแนะในกระบวนการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่เข้มแข็งในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังโบสถ์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากประชากร 3 กลุ่มรวมทั้งหมด 25 คน กลุ่ม 1 ผู้นำท้องถิ่นฝ่ายบริหาร 4 คน กลุ่ม 2 สมาชิกสภาท้องถิ่น 10 คน และกลุ่ม 3 ตัวแทนภาคประชาชน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ เนื้อหาผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) ขั้นตอนและวิธีการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง คือการสร้างความสำนึกทางการเมือง เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น การส่งเสริมภาคประชาสังคม กิจกรรมทุกอย่างต้องเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคมต้องมีพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมทำกิจกรรม ยึดเจตนารมณ์ของประชาชนเป็นหลัก (2) ปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อกระบวนการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถื่นต้องจัดการศึกษาภาควิชาระบอบประชาธิปไตย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องบรรจุหลักสูตรไว้ในชั้นเรียนให้การศึกษาตั้งแต่วัย เด็กหรือจัดหลักสูตรฝึกอบรม และจะต้องสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการปกครองด้วยสร้างวัฒนธรรมใหม่ร่วมกัน โดยกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง (3) ข้อเสนอแนะ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือฝ่ายการเมืองระดับท้องถิ่น ควรส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนสร้างความเป็นพลเมือง สนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรทางสังคม ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมตัวแทนภาคประชาชนควรตั้งศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมประชาธิปไตยในวิถีการเป็นประชาธิปไตยของชุมชนท้องถิ่น สร้างเครือข่ายภาคประชาสังคม รัฐควรส่งเสริมแต่ต้องไม่สั่งการหรือครอบงำทางความคิด ภาครัฐต้องมีนโยบายเด่นชัดในการส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเองอย่างแท้จริง เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการปูพื้นฐานการสร้างประชาธิปไตย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10332
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153258.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons