กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10340
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบประเมินการปฏิบัติงานของครูผู้สอนโรงเรียนบ้านน้ำสร้างหนองบะ จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a performance appraisal system for teacher of Ban Natmsarngnongba School in Maha Sarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพักตร์ พิบูลย์
ประเสริฐ พวงศรีเคน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บัณฑิต แท่นพิทักษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ครู--การประเมิน.--ไทย--มหาสารคาม
การประเมินผลงาน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบประเมินการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โรงเรียนบ้านน้ำสร้างหนองบะ จังหวัดมหาสารคาม ด้วยวิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 2) ประเมินประสิทธิผลของการใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการพัฒนาระบบประเมินการ ปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง เป็นคณะครู โรงเรียนบ้านน้ำสร้างหนองบะ จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2548 - 2549 จำนวน 18 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบประเมินการปฏิบัติงานครูผู้สอน แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การ วิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบประเมินการปฏิบัติงานของครูมีลักษณะสำคัญดังนี้ (1) มี ขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน ได้แก่ สร้างความตระหนัก กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและแนว ทางการประเมิน กำหนดเอกสารหลักฐานสนับสนุนการปฏิบัติงาน ดำเนินการพัฒนางานตามระบบ ประเมิน ประเมินความก้าวหน้าและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ ประเมินสรุปเพื่อตัดสินผลการ ปฏิบัติงานและรายงานผล (2) จำแนกองค์ประกอบการประเมินเป็น 3 องค์ประกอบ คือ การปฏิบัติตน มี 4 มาตรฐาน 24 ตัวชี้วัด การปฏิบัติงาน มี 9 มาตรฐาน 31 ตัวชี้วัด และ การพัฒนาผู้เรียน มี 6 มาตรฐาน 20 ตัวชี้วัด (3) กำหนดเงื่อนไขการประเมิน ให้ประเมินปีละ 2 ครั้ง โดยประเมินใน องค์ประกอบที่ 1 2 และ 3 เรียงตามลำดับ และ 2) ผลการใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการพัฒนาระบบประเมินการปฏิบัติงานของครู พบว่า (1) ระบบที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม มีความ เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมีประสิทธิภาพ ในระดับมาก (2) คณะครูที่มีบทบาทร่วมในการวิจัยและ พัฒนา ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนา มีความกระตือรือร้น พึงพอใจในระบบประเมิน และ เกิดการ เรียนรู้ ในระดับมาก คณะกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจต่อระบบประเมินในระดับมาก (3) คณะครูมีความเห็นว่า ระบบประเมินมีความเหมาะสม สมควรนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง และควร ปรับปรุงเป้าหมายให้ท้าทายยิ่งขึ้น เพื่อให้ระบบประเมินมีความสมบูรณ์และมีผลต่อการพัฒนางานมาก ยิ่งขึ้นเป็นลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10340
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons