Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10342
Title: ความสำเร็จในการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Other Titles: The success of knowledge management of Industrial Estate Authority of Thailand
Authors: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
นัยนา ทศพร, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การบริหารองค์ความรู้
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานต่อการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและความคิดเห็นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 185 คน จากประชากรจำนวน 346 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเข้าถึง ความรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด ในขณะที่ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานต่อการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่แตกต่างกัน ขณะที่พนักงานที่มีระดับงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ความคิดเห็นต่อปัญหาในการจัดการความรู้ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัญหาสำคัญได้แก่การสร้างและแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะความไม่เป็นปัจจุบันของระบบสารสนเทศของหน่วยงาน และการขาดความสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความรู้ ในส่วนของการเพิ่มประสิทธิผลการจัดการความรู้ ควรให้ความสำคัญกับการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะการสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานในการเพิ่มเติมและแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10342
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_130369.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons