กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1034
ชื่อเรื่อง: บทบาทของวิทยุชุมชนในการส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรมไทย : กรณีศึกษาวิทยุชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of community radio and Thai cultural inheritance : a case study of community radio in Muang Kanchanaburi District, Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สรายุทธ ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชา ม่วงใหญ่, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิสุทธิ์ พรทวีวัฒน์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
วิทยุชุมชน--ไทย--กาญจนบุรี
วิทยุเพื่อบริการสาธารณะ--ไทย--กาญจนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาของวิทยุชุมชน (2) บทบาทของ วิทยุชุมชนในการส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรมไทยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี (3) บทบาทพึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ของวิทยุชุมชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีใน การส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรมไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารวิทยุชุมชน 5 คน นักจัดรายการวิทยุชุมชน 10 คนผู้นำชุมชน 5 คน รวม 20 คม และเป็นการ วิเคราะห์เนี้อหารายการวิทยุที่ออกอากาศโดยสถานีวิทยุชุมชนในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีกรอบ เนี้อหาทางวัฒนธรรมทั้งหมด 5 ด้าน คือ ด้านการดำรงชีพ ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านศาสนา และจริยธรรม ด้านศิลปะและการละเล่น ด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ผลการวิจัยพบว่า (1) วิทยุชุมชนได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2491 โดยสถานี K.PFA ในเมืองเบร์กเลล์รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศไทยวิทยุชุมชนเป็นผล ที่เกิดขึ้นตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 (2) บทบาทของ วิทยุชุมชน ในการส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรม ได้แก่ บทบาทในการให้ความรู้ รักษาวัฒนธรรม ชุมชนท้องถิ่น ร่วมแก้ปัญหาของชุมชน และการมีส่วนร่วมในทางการเมือง (3) บทบาทพึงประสงค์ และไม่พึงประสงค์ของวิทยุชุมชน พบว่าส่วนใหญ่เป็นบทบาทที่พึงประสงค์ ส่วนบทบาทไม่พึง ประสงค์มี 4 ด้าน คือ 1. ด้านภาษาและวรรณกรรม ที่มีการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง 2. ด้านศาสนาและ จริยธรรม มีการรับค่าตอบแทนจากการเปีดสปอตโฆษณา 3. ศิลปะและการละเล่น มีผู้สนับสนุน รายการที่เป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4. ด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมือง มีการเสนอ ข่าวที่ทำให้เกิดการตื่นตระหนกกับผู้ฟังโดยไม่ตรวจสอบให้ชัดเจน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1034
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (14).pdfเอกสารฉบับเต็ม17.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons