กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10363
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงการบริหารโครงการงานระบบไฟฟ้าของงานก่อสร้างอาคารพานทองแมนชั่นด้วยหลักการของวงจรคุณภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The improvement of project management in electrical system of Phanthong Mansion construction using quality circle principles
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุวรรตน์ เปรมใจ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พานทองแมนชั่น--การบริหาร
ระบบไฟฟ้ากำลัง--การควบคุมคุณภาพ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารโครงการงานระบบไฟฟ้าของงานก่อสร้างอาคารพานทองแมนชั่นโดยวิธีทั่วไป (2) ศึกษาการบริหารโครงการงานระบบไฟฟ้าของงานก่อสร้างอาคารพานทองแมนชั่นโดยใช้หลักการของวงจรคุณภาพ (3) เปรียบเทียบการบริหารโครงการงานระบบไฟฟ้าของงานก่อสร้างอาคารพานทองแมนชั่นโดยวิธีทั่วไปและโดยใช้หลักการของวงจรคุณภาพ และ (4) ออกแบบกระบวนการทำงานของโครงการติดตั้งงานระบบไฟฟ้าโดยใช้หลักการของ วงจรคุณภาพ การศึกษาครั้งนี้ศึกษาจากโครงการงานระบบไฟฟ้าของงานก่อสร้างอาคารพานทองแมนชั่นเฟส 2 โดยชั้นที่ 3, 4 ใช้วิธีทั่วไป ส่วนชั้นที่ 1, 2 ใช้วิธีปรับปรุงงานด้วยหลักการของวงจรคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบบันทึกข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 15 กันยายน-30 ธันวาคม 2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารโครงการงานระบบไฟฟ้าโดยวิธีทั่วไปใช้ระยะเวลาการทำงานโดยเฉลี่ย 111 วัน มีข้อผิดพลาดของงานโดยเฉลี่ย 32 ครั้ง และมีกำไรร้อยละ 5.42 (2) การบริหารโครงการงานระบบไฟฟ้าโดยใช้หลักการของวงจรคุณภาพใช้ระยะเวลาการทำงานโดยเฉลี่ย 78 วัน มีข้อผิดพลาดของงานโดยเฉลี่ย 14 ครั้ง และมีกำไรร้อยละ 13.65 (3) การบริหารโครงการงานระบบไฟฟ้าโดยใช้หลักการของวงจรคุณภาพ ใช้ระยะเวลาการทำงานและมีข้อผิดพลาดของงานน้อยกว่าการบริหารโครงการงานระบบไฟฟ้าโดยวิธีทั่วไป โดยมีค่าวัสดุและค่าจ้างงานรับเหมาน้อยกว่าเช่นเดียวกัน ขณะที่ค่าใช้จ่ายบริหารมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกำไรและค่าใช้จ่ายอื่นไม่แตกต่างกัน และ (4) กระบวนการ ทำงานของโครงการติดตั้งงานระบบไฟฟ้าควรเริ่มต้นด้วยการขออนุมัติวัสดุอุปกรณ์ การสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ การจัดทำแบบติดตั้ง การรับสินค้า การดำเนินการติดตั้ง การทดสอบระบบ และการจัดเก็บโดยทุกขั้นตอนควรใช้หลักการของวงจรคุณภาพ ได้แก่ การวางแผนก่อนเริ่มงาน การจดบันทึกข้อมูลการทำงาน การตรวจสอบผลโดยหัวหน้างาน/ผู้ได้รับมอบหมาย และการแก้ไขโดยทันทีเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น (Plan-Do-Check-Act)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10363
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_135835.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons