Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10368
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ | th_TH |
dc.contributor.author | ไอศวรรย์ หนูนิล, 2515- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-11-09T06:35:50Z | - |
dc.date.available | 2023-11-09T06:35:50Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10368 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีโครงสร้างการบริหารราชการและลักษณะการปกครองท้องที่ในลักษณะที่ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกับประเทศไทย (3) บทบาท สถานภาพและการทำหน้าที่ของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเทียบระหว่างการ ดำรงตำแหน่งตามวาระ 5 ปีและการดำรงตำแหน่งครบอายุ 60 ปี (4) แนวโน้มของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ควรเป็นไปในอนาคต โดยการวิเคราะห์จากสภาพความเป็นมาของกำนันผู้ใหญ่บ้านในประเทศไทย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์โดยมีประชากรวิจัย ได้แก่ประชาชนใน 23 อำเภอของจังหวัด นครศรีธรรมราช และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่ กลุ่ม ข้าราชการ กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มผู้นำ ชุมชน และกลุ่มภาคประชาชน โดยแบ่งจำนวนผู้ที่รับการสัมภาษณ์แต่ละกลุ่มประมาณกลุ่มละ 20 - 30 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีลักษณะของความเป็นผู้นำดำรงบทบาทที่สำคัญคือ ผู้ปกครองดูแลลูกบ้านและทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ รัฐ ในลักษณะของผู้ประสานงานหรือเป็นตัวเชื่อมตรงกลางระหว่างส่วนราชการกับประชาชนในหมู่บ้าน (2) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์จะมีบทบาทและภารกิจหน้าที่ในหลายประการที่คล้ายคลึงกับกรณีของไทยคือนอกจากจะทำหน้าที่ในฐานะผู้นำของชุมชนท้องถิ่นในการปกครองดูแลชุมชนแล้ว ยังมีสถานภาพเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่้งมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายด้วย (3) การดำรงตำแหน่งครบอายุ 60 ปี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำหน้าที่และการปฏิบัติงาน ทำให้มีความต่อเนื่อง มีการสั่งสมประสบการณ์อันเป็นผลดีต่อการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา ซึ่งหากการดำรงตำแหน่งเป็นวาระ 5 ปี ทำให้ต้องรับการสนับสนุนจากการเมืองอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานและไม่เกิดประสิทธิผลเท่าที่ควร (4) อนาคตแนวโน้มบทบาทและการทำหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะตัวแทนของรัฐทำหน้าที่ในการเป็นกลไกการเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการกับประชาชนในพื้นที่ยังคงมีความสำคัญอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะต้องกลับมาให้ความสำคัญต่อบทบาทภารกิจตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 อันเป็นบทบาทมาแต่เดิมมากขึ้น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | กำนัน--กิจกรรมทางการเมือง | th_TH |
dc.subject | ผู้ใหญ่บ้าน--กิจกรรมทางการเมือง | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง | th_TH |
dc.subject | กำนันและผู้ใหญ่บ้าน | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทสถานภาพและการทำหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านระหว่างการดำรงตำแหน่งตามวาระ 5 ปี และการดำรงตำแหน่งครบอายุ 60 ปี | th_TH |
dc.title.alternative | Comparative study of the role, status and performance of Kumnan and village headmen serving a term of office limited to 5 years or serving to the age of 60 years | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to examine (1) the roles, powers and responsibilities of kumnan and village headmen in Thailand from the past to the present; (2) the roles, powers and responsibilities of the equivalent local chiefs in Indonesia, Malaysia and the Philippines, countries which have similar political administrative structures to Thailand; (3) the role, status and work performance of kumnan and village headmen who serve a term of office limited to 5 years compared to those who serve up to the age of 60; (4) the future trend of the positions of kumnan and village headman in Thailand in the future based on analysis of the roles of these positions in the past. This was a qualitative research based on documentary research and interviews with a sample population of citizens living in 23 districts in Nakhon Si Thammarat Province, consisting of 20-30 samples each from 5 groups: bureaucratic officials, kumnans, village headmen, community leaders, and civil society. The results showed that (1) From the past to the present, kumnan and village headmen acted primarily as leaders. Their major role is to administer and look after the people in their village and to act as agents of the state in the manner of a coordinator or as a liaison between government agencies and citizens in the village. (2) The equivalent local leaders in Indonesia, Malaysia and the Philippines have many similar roles and responsibilities to the kumnan and village headmen of Thailand. In addition to their duties as leaders of the local community in governing and overseeing the community, they also have the status of state officials whose roles and authority are stipulated by law. (3) When kumnan and village headmen are allowed to continue holding the position until they reach the age of 60 years, it can make their work more efficient and more continuous. They can accumulate work experience, which has a positive effect on their decision-making and problem-solving ability. If they serve in office for a term of only 5 years, they require the support of politicians, and that may detrimental to the effectiveness of their work performance. (4) As for the future trend of the position, as representatives of the state, village headmen will continue to have an important role acting as a mechanism to link and coordinate cooperation between the government and the people in the area. Kumnan and village headmen must go back to place emphasis on their original major roles and duties under the Regional Administration Act, BE 2457. | en_US |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
139879.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License