Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10368
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทสถานภาพและการทำหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านระหว่างการดำรงตำแหน่งตามวาระ 5 ปี และการดำรงตำแหน่งครบอายุ 60 ปี |
Other Titles: | Comparative study of the role, status and performance of Kumnan and village headmen serving a term of office limited to 5 years or serving to the age of 60 years |
Authors: | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ไอศวรรย์ หนูนิล, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี กำนัน--กิจกรรมทางการเมือง ผู้ใหญ่บ้าน--กิจกรรมทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง กำนันและผู้ใหญ่บ้าน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีโครงสร้างการบริหารราชการและลักษณะการปกครองท้องที่ในลักษณะที่ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกับประเทศไทย (3) บทบาท สถานภาพและการทำหน้าที่ของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเทียบระหว่างการ ดำรงตำแหน่งตามวาระ 5 ปีและการดำรงตำแหน่งครบอายุ 60 ปี (4) แนวโน้มของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ควรเป็นไปในอนาคต โดยการวิเคราะห์จากสภาพความเป็นมาของกำนันผู้ใหญ่บ้านในประเทศไทย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์โดยมีประชากรวิจัย ได้แก่ประชาชนใน 23 อำเภอของจังหวัด นครศรีธรรมราช และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่ กลุ่ม ข้าราชการ กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มผู้นำ ชุมชน และกลุ่มภาคประชาชน โดยแบ่งจำนวนผู้ที่รับการสัมภาษณ์แต่ละกลุ่มประมาณกลุ่มละ 20 - 30 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีลักษณะของความเป็นผู้นำดำรงบทบาทที่สำคัญคือ ผู้ปกครองดูแลลูกบ้านและทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ รัฐ ในลักษณะของผู้ประสานงานหรือเป็นตัวเชื่อมตรงกลางระหว่างส่วนราชการกับประชาชนในหมู่บ้าน (2) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์จะมีบทบาทและภารกิจหน้าที่ในหลายประการที่คล้ายคลึงกับกรณีของไทยคือนอกจากจะทำหน้าที่ในฐานะผู้นำของชุมชนท้องถิ่นในการปกครองดูแลชุมชนแล้ว ยังมีสถานภาพเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่้งมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายด้วย (3) การดำรงตำแหน่งครบอายุ 60 ปี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำหน้าที่และการปฏิบัติงาน ทำให้มีความต่อเนื่อง มีการสั่งสมประสบการณ์อันเป็นผลดีต่อการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา ซึ่งหากการดำรงตำแหน่งเป็นวาระ 5 ปี ทำให้ต้องรับการสนับสนุนจากการเมืองอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานและไม่เกิดประสิทธิผลเท่าที่ควร (4) อนาคตแนวโน้มบทบาทและการทำหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะตัวแทนของรัฐทำหน้าที่ในการเป็นกลไกการเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการกับประชาชนในพื้นที่ยังคงมีความสำคัญอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะต้องกลับมาให้ความสำคัญต่อบทบาทภารกิจตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 อันเป็นบทบาทมาแต่เดิมมากขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10368 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
139879.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License