กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1036
ชื่อเรื่อง: | การอนุรักษ์และพัฒนาการทอเสื่่อกก : กรณีศึกษาบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Conservation and development of traditional reed mat weaving : a case study of Baan Paeng Village in the Kosum Phisai District of Maha Sarakham Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัณฉัตร หมอยาดี บุญพรรค อวบอ้วน, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทรงกลด จารุสมบัติ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เสื่อกก--การอนุรักษ์และฟื้นฟู |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของการทอเสื่อกกที่ บ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (2) แนวทางในการอนุรักษ์และแนวทางการพัฒนาการทอเสื่อกกที่บ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ ผู้รู้ 15 คน ผู้ปฏิบัติ 20 คน และประชาชนที่ไปซื้อเสื่อกกที่ศูนย์ OTOP ตำบลแพง 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึกแบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาการทอเสื่อกกที่บ้านแพง เป็นการสืบทอดมาจาก บรรพบุรุษกว่า 100 ปี แล้ว โดยเริ่มแรกเป็นการทอเสื่อจากต้นปรือทอเพื่อใช้สอยและแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ นปี 2521 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกสุมพิสัยได้สนับสนุนในการส่งตัวแทนกลุ่มแม่บ้านสตรีทอเสื่อไปศึกษา ดูงานที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และได้นำความรู้กลับมาเผยแพร่ให้กับชาวบ้านแพง โดยได้เปลี่ยนการทอเสื่อจากต้นปรือมาเป็นเสื่อกก ต่อมาในปี 2544 กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสอนการมัดหมี่เสื่อกกหลายลาย ได้แก่ ลายหมี่ ลายเปีย ลายกระจับ ลายรูปภาพและลายตัวหนังสือทำให้เสื่อกกมีลวดลายหลากหลาย สีสันสวยงาม เป็นสินค้า OTOP 5 ดาว (2) แนวทางในการอนุรักษ์การทอเสื่อบ้านแพงควรมีรูปแบบการอนุรักษ์โดยควรตั้ง กลุ่มแม่บ้านทอเสื่อกก การสร้างศูนย์ OTOP การจัดนิทรรศการเคลื่อนที่และการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นการทอเสื่อกกให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 4-6 ของโรงเรียนบ้านแพงหนองเหนือส่วนแนวทางในการพัฒนาควรพัฒนาทางด้านคุณภาพพันธุ์กก คุณภาพเส้นกก อุปกรณ์ในการทอเสื่อกก ลายเสื่อ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อ และแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1036 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (15).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License