Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10388
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: People's participation in the management of Water Resources of Khonsai Sub-district Administrative Organization, Trakanputphon District, Ubon Ratchathani Province
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทองคำ มีหิริ, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
แหล่งน้ำ--ไทย--การจัดการ.
การพัฒนาแหล่งน้ำ--ไทย--การมีส่วนร่วมของประชาชน.
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำ ขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของประชาชนในการจัดการแหล่งน้ำของ องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในจัดการแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบล คอนสายพอสมควร ในด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผนการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ให้ความสำคัญกับการเสนอโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ด้านการจัดเตรียมงบประมาณ ได้มีการวาง แผนการใช้งบประมาณร่วมกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในด้านการพิจารณาอนุมัติแผนพัฒนาร่วมกับ คณะกรรมการแผนพัฒนา ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการมีการสร้างความร่วมมือจากภาค ประชาชนในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ สำหรับด้านการประสานงานหน่วยงานราชการอื่น ประชาชน ไม่ได้มีส่วนร่วม 2) ปัญหาอุปสรรคได้แก่ 2.1) การมีส่วนร่วมด้านนโยบายและการวางแผน ประชาชนส่วนใหญ่ที่ เข้าร่วมการประชาคมเสนอไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย ไม่มีการกำหนดนโยบายหรือวางแผนในการพัฒนาแหล่งน้ำ 2.2) ส่วนด้านงบประมาณ ไม่มีการจัดเตรียม งบประมาณรายจ่ายประจำปี สำหรับนำมาใช้ในการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในตำบล 2.3) ด้านความร่วมมือของ ประชาชนในการดำเนินการ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำไม่มีการเสนอ แผนงาน 2.4) ด้านการประสานงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการประสานของบประมาณเพื่อบูรณาการใน การทำงานร่วมกัน 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาองค์การบริหารส่วนตำบล 3.1) ควรมีการสร้างกลไกการมีส่วนร่วม การร่วมวางแผน การร่วมดำเนินงาน การร่วมแก้ปัญหาหาทางออก โดยมีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อเสนอ กำหนดโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำร่วมกัน 3.2) ควรจัดทำงบประมาณด้านการบริหารและ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ 3.3) ควรสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 3.4) ควรดำเนินการประสานงานไป ยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำร่วมกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10388
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148774.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons