กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1038
ชื่อเรื่อง: บทบาทของมิชชันนารีพยานพระยะโฮวาด้านการสอนและการส่งเสริมการศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิลในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2479-2552
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Jehovah's Witnesses Missionaries' role in the teaching and the furtherance of bible study in Bangkok 1936-2009
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มัลลิกา มัสอูดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลับพลึง คงชนะ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนันนา บุญอยู่, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ไบเบิล
มิชชันนารี--ไทย--กรุงเทพฯ
คริสต์ศาสนา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทด้านการสอนและการส่งเสริมการศึกษา พระคัมภีร์ ไบเบิลของมิชชันนารีพยานพระยะโฮวา (2) วิธีการแก้ปัญหาและอุปสรรคด้านการสอนและการส่งเสริมการศึกษา พระคัมภีร์ไบเบิลของมิชชันนารีพยานพระยะโฮวาและ (3) เปรียบเทียบวิธีการสอนและการส่งเสริมการศึกษา พระคัมภีร์ไบเบิลของมิชชันนารีพยานพระยะโฮวาระหว่าง พ.ศ. 2479 -2522 กับ พ.ศ. 2523 -2552 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิจัยแบบ มีส่วนร่วม การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมี 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) มิชชันนารีพยาน พระยะโฮวาจำนวน 20 คน (2) นักศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิลที่โรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า จำนวน 20 คน (3) ประชาชน ทั่วไปที่สนใจเรียนพระคัมภีร์ไบเบิลกับมิชชันนารีพยานพระยะโฮวา จำนวน 20 คน และใช้แนวทางวิเคราะห์ตาม วิธีการทางประวัติศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทด้านการสอนและการส่งเสริมการศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิลของมิชชันนารี พยานพระยะโฮวามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพระคัมภีร์ไบเบิลที่โบสถ์ ตามบ้าน สวนสาธารณะและ ห้างสรรพสินค้า เพื่อเผยแผ่ความรู้ด้านคริสตธรรมและความเชื่อของนิกายพยานพระยะโฮวาให้แก่ประชาชนทั้ง แบบรายบุคคลและรายกลุ่ม (2) มิชชันนารีพยานพระยะโฮวาเมื่อมีความรู้สึกท้อถอยในการสื่อสารด้วยภาษาไทย จัดให้มีการนมัสการพระเจ้า จัดอบรมและเรียนภาษาไทย เพื่อเพิ่มพูนความรู้ อีกทั้งช่วยให้เหล่ามิชชันนารีเกิด ความสามัคคี มีกาลังใจที่เข้มแข็งและมีความมุ่งมั่นในการสอนพระคัมภีร์ไบเบิล (3) วิธีการสอนและการส่งเสริม การศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล ช่วงพ.ศ. 2479-2522 เป็นการจัดการสอนและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ประชาชนผู้สนใจ แต่ค่อนข้างจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลที่เข้าใจภาษาอังกฤษได้ ค่อนข้างดี เนื่องจากมิชชันนารีส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ส่วนช่วงพ.ศ. 2523-2552 เป็นการส่งเสริมการศึกษา อย่างต่อเนื่องที่มีความสอดคล้องกับการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่เข้าถึงง่าย สนองตอบความต้องการของ ประชาชนทั่วไปที่สนใจซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และมีจำนวนมิชชันนารีชาวไทยเพิ่มขึ้น จึงไม่มี ปัญหาด้านการสื่อสารด้วยภาษาไทย การแจกจ่ายเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ และการเรียนการสอนในสถานที่ต่างๆ ได้ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ช่องทางการสื่อสารมีความหลากหลาย เข้าถึง ได้อย่างสะดวก และเข้าถึงได้ตลอดเวลา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1038
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (16).pdfเอกสารฉบับเต็ม18.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons