กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10394
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่นของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of a guidance activities package for development of behaviors showing respect for others of early adolescent students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจียรนัย ทรงชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทัศนีย์ ชาติไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชรียา แจ่มใส
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน
การสอนด้วยสื่อ--การประเมิน
วัยรุ่น--พฤติกรรม
นักเรียนมัธยมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่นระหว่าง นักเรียนวัยรุ่นตอนต้นที่ได้รับการฝึกและไม่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนา พฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่น และ(2) เปรียบเทียบพฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่นของนักเรียนวัยรุ่น ตอนต้นที่มีความพร้อมทางจิตต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 13-15 ปี จากโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2551 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 2 ห้องเรียน รวมนักเรียน 60 คน สุ่มนักเรียนแต่ละคนเข้ากลุ่มวิจัย 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน จับสลาก ให้เป็นกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่ม และกลุ่มควบคุมหนึ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่น จำนวน 10 กิจกรรม (2) แบบวัด จำนวน 4 แบบวัด คือ แบบวัดพฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่น แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม แบบวัด ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน และแบบวัดความเชื่ออำนาจในตน ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89,.72, .76 และ.83 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนวัยรุ่นตอนต้นที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนาพฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่น มีพฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่นสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับ การฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมเคารพนับถือผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 และ (2) นักเรียนวัยรุ่นตอนต้นที่มีความพร้อมทางจิตต่างกันมีพฤติกรรมเคารพนับถือ ผู้อื่นไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10394
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons