กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10398
ชื่อเรื่อง: ความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง : กรณีศึกษากลุ่มบ้านบางกะม่า อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political activism of the Karen Ethnic Group : a case study of the group in Ban Bang Kama, Ban Kha District, Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล มุกดารัศมี
อุษา กุลบุตร, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
กะเหรี่ยง--ไทย--กิจกรรมทางการเมือง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บ้านบางกะม่า (2) ปัญหาอุปสรรคของการแสดงออกถึงความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกะม่า การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกอย่างไม่เป็นทางการ การสังเกตและการสนทนากลุ่มกับตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกะม่า เครือข่าย กะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการอภิปราย ในปัญหาการนำป่าแก่งกระจานขึ้นเป็นมรดกโลก ณ ลานวัฒนธรรม บ้านโป่งกระทิงบน อำเภอ บ้านคา จังหวัดราชบุรีและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกะม่าเกิดจากการรับรู้และเข้าใจในสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมืองไทย ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 ประกอบด้วยสิทธิพลเมือง สิทธิมนุษยชน นำมาสู่การมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การรวมกลุ่มเรียกร้อง การชุมนุมเคลื่อนไหว การเข้าร่วมในเวทีสาธารณะและการต่อสู้เรียกร้องให้สังคมยอมรับในความแตกต่างและหลากหลายทางชาติพันธุ์ เพื่อแสดงถึงความตื่นตัวทางการเมืองของชาวกะเหรี่ยงบ้านกะม่า ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยเฉพาะปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ในส่วนปัญหาและอุปสรรคเนื่องด้วยสภาพการเมืองที่เป็นแบบปิด คือการเมืองระบอบเผด็จการทหารภายใต้การควบคุม อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปัญหาภายในกลุ่มเครือข่ายกะเหรี่ยงเองและที่สำคัญทัศนคติในแง่ลบที่มีต่อชาวกะเหรี่ยงในสถานะของคนชายขอบ ก็เป็นอุปสรรคไม่เอื้ออำนวยให้ชาวกะเหรี่ยงได้แสดงออกถึงความตื่นตัวทางการเมืองดังกล่าวมากนัก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10398
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150175.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons