Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10412
Title: บทบาททางการเมืองในท้องถิ่นของสาขาพรรค : กรณีศึกษาสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2550 - 2557
Other Titles: Local political roles of party branch : a case study of a party branch of Democrat Party within Mueang District, Chiang Mai Province during 2007 - 2014
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล
วนิดา เพชรราวัลย์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
พรรคประชาธิปัตย์--กิจกรรมทางการเมือง
นักการเมือง--กิจกรรมทางการเมือง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาททางการเมืองในท้องถิ่นของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในบทบาททางการเมืองใน ท้องถื่นของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาบทบาททางการเมืองในท้องถิ่นของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ คณะกรรมการสาขาพรรค จำนวน 8 คน สมาชิกพรรค จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัด 2 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบ สัมภาษณ์แบบเจาะจง และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลวิจัยพบว่า (1) สาขาพรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินบทบาททางการเมืองในท้องถิ่นที่สำคัญหลายบทบาท ได้แก่ บทบาทในการรับและสรรหาบุคคลเข้าเป็นสมาชิกพรรค บทบาทในการให้ความรู้ทางการเมืองแก่สมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป บทบาทการรับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากสมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป บทบาทการเป็นตัวเชื่อมระหว่างพรรคกับสมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป บทบาทการเผยแพร่นโยบายและกิจกรรมของพรรค บทบาทการพิจารณาคัดเลือกตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค บทบาทการช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค (2) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินบทบาททางการเมืองในท้องถิ่นของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่ 1) ปัญหาทางด้านงบประมาณหรือเงินทุนที่ไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น เป็นปัญหาความล่าช้าในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน 2) ขาดความสัมพันธ์ระหว่างพรรค สมาชิกพรรค และประชาชนทั่วไป เป็นต้น และ นโยบายของพรรคไม่เป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนในพื้นที่ (3) ข้อเสนอแนะ คือ 1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง และพรรคประชาธิปัตย์ควรเพิ่มงบประมาณหรือเงินสนับสนุนให้กับสาขาพรรคตามความเป็นจริงเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรม 2) ให้ความรู้กับทางสาขาและสมาชิกพรรคอย่างต่อเนื่อง 3) ทางสาขาควรพัฒนาความล่าช้าในการแก้ไปปัญหาให้กับประชาชนปรับนโยบายให้เข้ากับประชาชนในพื้นที่ 4) ให้โอกาสสมาชิกในการถูกคัดเลือกให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง 5) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพรรค สมาชิกพรรค และประชาชนทั่วไปให้มีความแน่นแฟ้นขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10412
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148782.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons