กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10412
ชื่อเรื่อง: บทบาททางการเมืองในท้องถิ่นของสาขาพรรค : กรณีศึกษาสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2550 - 2557
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Local political roles of party branch : a case study of a party branch of Democrat Party within Mueang District, Chiang Mai Province during 2007 - 2014
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วนิดา เพชรราวัลย์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
พรรคประชาธิปัตย์--กิจกรรมทางการเมือง
นักการเมือง--กิจกรรมทางการเมือง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาททางการเมืองในท้องถิ่นของสาขาพรรค ประชาธิปัตย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในบทบาททางการเมืองใน ท้องถื่นของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ปัญหาบทบาททางการเมืองในท้องถิ่นของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลวิจัยพบว่า (1) สาขาพรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินบทบาททางการเมืองในท้องถิ่นที่สำคัญ หลายบทบาท ได้แก่ บทบาทในการรับและสรรหาบุคคลเข้าเป็นสมาชิกพรรค บทบาทในการให้ความรู้ ทางการเมืองแก่สมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป บทบาทการรับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากสมาชิก พรรคและประชาชนทั่วไป บทบาทการเป็นตัวเชื่อมระหว่างพรรคกับสมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป บทบาทการเผยแพร่นโยบายและกิจกรรมของพรรค บทบาทการพิจารณาคัดเลือกตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งใน นามของพรรค บทบาทการช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค (2) ปัญหาอุปสรรคใน การดำเนินบทบาททางการเมืองในท้องถิ่นของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่ 1) ปัญหาทางด้าน งบประมาณหรือเงินทุนที่ไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น เป็นปัญหา ความล่าช้าในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน 2) ขาดความสัมพันธ์ระหว่างพรรค สมาชิก พรรค และประชาชนทั่วไป เป็นต้น และ นโยบายของพรรคไม่เป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนในพื้นที่ (3) ข้อเสนอแนะ คือ 1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง และพรรคประชาธิปัตย์ควรเพิ่มงบประมาณหรือเงิน สนับสนุนให้กับสาขาพรรคตามความเป็นจริงเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรม 2) ให้ความรู้กับทางสาขา และสมาชิกพรรคอย่างต่อเนื่อง 3) ทางสาขาควรพัฒนาความล่าช้าในการแก้ไปปัญหาให้กับประชาชน ปรับนโยบายให้เข้ากับประชาชนในพื้นที่ 4) ให้โอกาสสมาชิกในการถูกคัดเลือกให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง 5) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพรรค สมาชิกพรรค และประชาชนทั่วไปให้มีความแน่นแฟ้นขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10412
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148782.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons