กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10421
ชื่อเรื่อง: | ประชาธิปไตยท้องถิ่นกับวัฒนธรรมภูไทของชุมชนภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Local democracy and Phu Tai Culture of Phu Tai Ban Phon Community in Kham Muang District Kalasin Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุทธพร อิสรชัย ภัณฑิรา คำสิลา, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ไท--กิจกรรมทางการเมือง ประชาธิปไตย--ไทย--กาฬสินธุ์ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประชาธิปไตยท้องถิ่นกับวัฒนธรรมภูไทของชุมชนภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) ปัจจัยของวัฒนธรรมภูไทที่มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นของชุมชนภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ (3) เสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมประชาธิปไตยท้องถิ่นของชุมชนภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวนทั้งสิ้น 12 คน ดังนี้ ผู้นำชุมชนบ้านโพน กรรมการ ชุมชนบ้านโพน ปราชญ์ชาวบ้านโพนและชาวบ้านโพน ใช้การวิเคราะห์ข้องมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและ บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) วัฒนธรรมภูไทของชุมชนภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์มีความสัมพันธ์กับประชาธิปไตยในท้องถิ่น โดยวัฒนธรรมภูไทเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยในชุมชน (2) ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นของชุมชนภูไทบ้านโพน ได้แก่ วัฒนธรรมด้านทัศนคติ ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติส่งผลให้คนในชุมชนประพฤติตนอยู่ในกรอบจารีตประเพณี เคารพกฎกติกาของชุมชน วัฒนธรรมด้านครอบครัว การอบรบรมเลี้ยงดูทำให้คนในชุมชนเป็นคนมีเหตุผล รู้จักประนีประนอมมีการปรึกษาหารือระหว่างกัน วัฒนธรรมด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นและวัฒนธรรมด้านวัตถุ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมซึ่งนับเป็นฐานรากของประชาธิปไตย ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นของชุมชนภูไทบ้านโพน ได้แก่ วัฒนธรรมด้านทัศนคติ ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ทำให้คนในชุมชนเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม เชื่อเรื่องนรก สวรรค์ เชื่อในเรื่องบุญ บาปทำให้เมื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เงิน สิ่งของหรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแล้ว ชาวบ้านจะตอบแทนด้วยการเลือกลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครคนนั้นเพื่อไม่ให้ตนเองต้องติดค้างบุญคุณหรือเป็นบาปส่งผลให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง นอกจากนี้ความเชื่อดังกล่าวยังทำให้เกิดการยอมรับเกี่ยวกับวาสนา บารมี ส่งผลให้คนในชุมชนเคารพเชื่อฟังผู้นำทำให้เกิดการชี้นำเมื่อมีการเลือกตั้ง และวัฒนธรรมด้านครอบครัว ความสัมพันธ์ทางเครือญาติทำให้เกิดระบบพวกพ้อง เกิดระบบอุปถัมภ์ (3) ข้อเสนอแนะ ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของชุมชนภูไทบ้านโพนนั้น คือการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนแบบปรึกษาหารือโดยการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนผสมผสานกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมและถ่ายทอดกันมาจากบรรพบุรุษ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10421 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
153312.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License