กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10429
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลให้พื้นที่ฝังกลบขยะปราศจากการต่อต้านจากชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่ฝังกลบขยะบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors influence upon community’s no opposition on waste disposal : a case study of Bantan, Hod District, Chiang Mai Provincial |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์ รัชฎาภรณ์ จันทดิษฐาวัฒน์, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี การฝังกลบขยะ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้พื้นที่ฝึงกลบขยะ ปราศจากการต่อด้านจากชุมชน (2) สรุปบทเรียนของพื้นที่ฝังกลบขยะเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของพื้นที่ฝังกลบขยะอื่น ๆ กลุ่มประชากรวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลบ้านตาลซึ่งมีจำนวน 5,289 คนโดยคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จากสูตรของ Taro Yamane ดังนั้นใช้กลุ่ม ตัวอย่างในการศึกษาทั้งหมด 372 คน และการสัมภาษณ์บุคคลโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านการบริหารจัดการ ซึ่งทางโครงการฯ ได้บริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนจัดการปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นจนประชาชนไม่ได้รับ ผลกระทบหรือได้รับเพียงส่วนน้อย การรับเรื่องร้องเรียนโดยแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ทำให้ชุมชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ฝังกลบขยะมีความวางใจในการดำเนินงาน (2)การที่โครงการฯสามารถดำเนินการมา ได้จนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีการต่อด้านจากชุมชนนั้น เนื่องมาจากโครงการฯสามารถบริหารจัดการพื้นที่ฝังกลบขยะให้มีประสิทธิภาพ ถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง ทั้งยังทำให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงเช่นการชดเชยค่าเสียหายที่ชุมชนอาจจะได้รับผลกระทบในการจัดตั้งโครงการฯ ทางอ้อมเช่นมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ดีขึ้น การช่วยเหลือและการมีส่วนร่วมกับชุมชนในหลายๆ ด้าน อีกทั้งควรเปิดให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าตรวจสอบการดำเนินโครงการฯได้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจแก่ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงหรือผู้ที่สนใจ เพื่อให้โครงการฯสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างราบรื่น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10429 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161025.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License