กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10432
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Power relations between headman and local leaders in the preparation of the development plan of Tamiang Subdistrict Administrative Organization, Phanomdongrak District, Surin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนศักดิ์ สายจำปา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศักดิ์ชัย กุมผัน, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง--การวางแผน
ผู้นำทางการเมือง--ไทย--สุรินทร์
การวางแผนพัฒนาระดับตำบล--ไทย--สุรินทร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง (2) ลักษณะความสัมพันธ์ทางปฏิบัติระหว่างผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง (3) ปัญหาและอุปสรรคขององค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียงในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำได้แก่ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาคมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการพรรณนาวิเคราะห์ภายในกรอบทฤษฎีที่กำหนดไว้ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยบนพื้นฐานของการสังเกตการณ์หรือข้อเท็จจริง โดยนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ในภาคสนามมาเชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมผ่านทางเอกสาร และผลการวิจัยต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นกลไกอำนาจเชิงกฎหมายที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำท้องที่และท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (2) ผู้นำท้องที่ซึ่งเป็นผู้นำที่มีบทบาทในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องยาวนานใช้ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในการสร้างบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (3) ระเบียบกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมต้องทำในเชิงรุกให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10432
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161548.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons