กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10447
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนศูนย์การเรียนแบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคสแตดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการสร้างฐานข้อมูลด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of e-learning packages for cooperative learning centers using students teams achievement division (STAD) technique on database construction with Microsoft Access for Mathayom Suksa V students in Buriram Educational Service Area 4
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพร พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สำเนียง ประยุทธเต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
แบบเรียนสำเร็จรูป
คอมพิวเตอร์--การสอนด้วยสื่อ
คอมพิวเตอร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนศูนย์ การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคสแตดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องการสร้างฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80 / 80 (2) ศึกษาความก้าวหน้า ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนศูนย์ การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคสแตด และ(3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เกี่ยวกับ คุณภาพของชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนศูนย์การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคสแตด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตึก ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 40 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนศูนย์การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคสแตด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องการสร้างฐานข้อมูลด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส จำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล และหน่วยที่ 3 แนวคิดเกี่ยวกับโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณภาพของชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ การสอนศูนย์การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคสแตดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สถิติ ที่ใช้ได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสอนศูนย์การเรียนแบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคสแตดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องการสร้างฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม ไมโครซอฟต์แอกเซส ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ 81.16 / 82.14,81.52 / 82.14 และ 81.61 / 82.50 ตามลำดับเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80 / 80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ การสอนศูนย์การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคสแตด มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ(3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อคุณภาพของชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ การสอนศูนย์การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคสแตดอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10447
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons