Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10459
Title: สภาพที่เหมาะสมในการเก็บบ่มยางก้อนถ้วยที่ส่งผลต่อสมบัติยางธรรมชาติผสมยางสังเคราะห์
Other Titles: Proper conditions for curing cup lump that affect natural rubber and synthetic rubber properties
Authors: สุภาวดี ธีรธรรมากร
ฟาลิดา ศรีพรหม, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
ยาง
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระยะเวลาการเก็บบ่มที่ทำให้ปริมาณความชื้นของก้อนยางเหมาะสมต่อสมบัติยางธรรมชาติผสมกับยางสังเคราะห์ (MNR) ตามเกณฑ์ที่กำหนด และปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ที่มีอิทธิพลต่อปริมาณความชื้นก้อนยางและปริมาณเนื้อยางแห้ง ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของเสีย ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต การดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษาปริมาณเนื้อยางแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ สมบัติของยางก้อนถ้วย และสมบัติของยางแท่ง MNR จากการเก็บบ่มแบบที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกกับการเก็บบ่มแบบมีพลาสติกปกคลุม จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อหาคำคุณสมบัติที่ดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่า การเก็บบ่มแบบมีพลาสติกปกคลุมให้ปริมาณเนื้อยางแห้งดีที่สุดคือร้อยละ 68.3 1 ฉะนั้นปริมาณความชื้นของก้อนยางจึงมีค่าร้อยละ 31.49 ที่ความชื้นสัมพัทธ์ โดยรอบของบ่อเฉลี่ยร้อยละ 93 ช่วงเวลา 05.00 น. ในตำแหน่งท้าย ในส่วนสมบัติของยางก้อนถ้วยที่ทำการเก็บบ่มแบบมีพลาสติกปกคลุม ณ ตำแหน่งท้ายในช่วงเวลา 05.00 น. มีค่าความอ่อนตัวเริ่มต้นของยางดีที่สุด คือ 45.7 และค่าดัชนีความอ่อนตัวของยาง อยู่ในเกณฑ์ ที่กำหนด คือ 68.2 และจากการผลิตยางแท่ง MNR ด้วยยางก้อนถ้วยตำแหน่งท้าย มีสมบัติยางแท่งที่ดีอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดของบริษัทซึ่งอ้างอิงจากมาตรฐานยางแท่งไทย และปัจจุบันยังสามารถลดปริมาณของเสียเหลือ 0.63% โดยสามารถลดปริมาณของเสียได้ถึง 1 %
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10459
Appears in Collections:Science Tech - Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.45 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons