กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1045
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของพระธรรมกถึกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information seeking behaviors of buddhist monk preachers in Bangkok and its vicinities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพร พุทธาพิทักษ์ผล
ศรัณย์ พินิจพะระ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อำนาจ บัวศิริ
พวา พันธุ์เมฆา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
พระธรรมกถึก--ไทย
พฤติกรรมข่าวสาร
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของพระธรรมกถึกและ (2) สภาพปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศของพระธรรมกถึก วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพระสงฆ์ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน “เสมาธรรมจักร” ประเภทเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ และประเภทการส่งเสริมการศึกษาระหว่าง พ.ศ. 2533 – 2551 และพำนักอยูในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 97 รูป โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามประเภทของรางวัล และเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจำนวน 20 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นตัวแบบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของคริคิลาสเป็นแนวทางในการศึกษา ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้แนวทางการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของพระธรรมกถึก เริ่มต้นจากสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดกิจกรรม 2 ประเภท ได้แก่ การให้สารสนเทศ และการรวบรวมสารสนเทศ กิจกรรมการให้สารสนเทศมี 4 ประเภท ได้แก่ การบรรยายธรรม การแสดงพระธรรมเทศนา การสอน และการแต่งหนังสือ แต่ละประเภทมีความสัมพันธ์กับความต้องการเร่งด่วนที่ต้องแสวงหาทันทีทั้งจากแหล่งสารสนเทศภายใน ได้แก่ ความจำของตน แฟ้มส่วนบุคคล และแหล่งสารสนเทศภายนอก ได้แก่ การติดต่อ ระหวางบุคคล ห้องสมุด และ อินเทอร์เน็ต ส่วนกิจกรรมการรวบรวมสารสนเทศผ่านวิธีการหลากหลายประเภท ซึ่งวิธีการเหล่านั้นมีลักษณะเป็นพฤติกรรมสารสนเทศในแต่ละวันมีความสัมพันธ์กับความต้องการที่รอคอยได้ พฤติกรรมนี้ครอบคลุมทั้งการแสวงหาสารสนเทศ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) การแสวงหาสารสนเทศที่มิได้ริเริ่มเอง พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักรวบรวมสารสนเทศผ่านกิจกรรม 6 ประเภท เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การรับชมโทรทัศน์การรับฟังวิทยุ การอ่านหนังสือ การใช้อินเทอร์เน็ต การบอกรับเป็นสมาชิกข่าวข้อความสั้น และ 2) การแสวงหาสารสนเทศที่ริเริ่มเอง พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักรูปเดียวรวบรวมสารสนเทศผ่านกิจกรรมการติดต่อโดยตรงและจากวัตถุประสงค์ผลการวิจัย (2) สภาพปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศของพระธรรมกถึก พบว่า ด้านการรวบรวม สารสนเทศ ได้แก่ แหล่งสารสนเทศเป็นแหล่งอโคจรสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และไม่มีเวลาในการติดตามข้อมูลที่สนใจ ด้านการให้สารสนเทศ ได้แก่ ข้อมูลไม่ทันสมัย ได้ข้อมูลไม่ทันกับเวลาที่ต้องการ และความไม่เที่ยงตรงของข้อมูล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1045
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (18).pdfเอกสารฉบับเต็ม22.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons