กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10467
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานแหลมฉบัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to organizational commitment of staffs in Mitsubishi Motors (Thailand) Company Limited at Laem Chabang Factory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัฒนา รัศมี, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความผูกพันต่อองค์การ--ไทย
พนักงานบริษัท--ทัศนคติ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานแหลมฉบัง (2) ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนของพนักงานบริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานแหลมฉบัง (3) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน บริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานแหลมฉบัง (4) ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุนที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานแหลมฉบัง การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงาน และผู้บริหารของบริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานแหลมฉบัง จำนวน 1,127 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 295 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การ โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ระดับปัจจัยจูงใจและ ปัจจัยค้ำจุน โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตาม อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน และหน่วยงานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเพศ มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน และ 4) ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10467
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons