กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10468
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการลงทุนของคนวัยทำงานในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investment behavior of working people in Pathumwan District, Bangkok Metropolitan
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิภาพร เพชรบูรณ์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การลงทุน--การตัดสินใจ
การลงทุน--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการลงทุนของคนวัยทำงานในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานกร (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการลงทุน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ของคนวัยทำงานในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการลงทุน จำแนกตามปัจจัยทางเศรษฐกิจ ของคนวัยทำงานในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาด กับพฤติกรรมการลงทุนของคนวัยทำงานในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งอาศัยหรือทำงานในเขตปทุมวัน ประชากร ไม่ทราบจำนวน วิธีกำหนดขนาดตัวอย่างใช้สูตรของคอแครน จึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25-30 ปี อยู่ในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า สถานภาพโสด อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน จำนวนสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป มีรายได้ 20,001 - 30,000 บาท มีรายจ่ายต่ำกว่า 10,000 บาท มีภาระหนี้สินส่วนบุคคล โดย (1) ปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลงทุน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ด้านสิ่งที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้ หรือ ลักษณะทางกายภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนในเรื่องความถี่ ในการลงทุน จำนวนการลงทุนในแต่ละครั้ง รูปแบบการลงทุน และวัตถุประสงค์ในการลงทุน แตกต่างกัน (3) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ ค่าใช้จ่าย ภาระหนี้สิน มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนในเรื่องความถี่ในการลงทุน จำนวนการลงทุนในแต่ละครั้ง รูปแบบการลงทุน และวัตถุประสงค์ในการลงทุน แตกต่างกัน (4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการกับพฤติกรรมการลงทุนในเรื่องจำนวนกรลงทุนในแต่ละครั้ง มีความสัมพันธ์กัน ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านสิ่งที่ลูกค้าสัมผัสได้หรือลักษณะทางกายภาพ กับพฤติกรรมการลงทุนในเรื่องความถี่ในการลงทุน และจำนวนการลงทุนในแต่ละครั้ง มีความสัมพันธ์กัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10468
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons